เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
เมื่อวันที่
18
ธันวาคมที่ผ่านมาผมได้รับเชิญเป็นผู้ร่วมรายการ
มองรัฐสภา
ซึ่งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง
11
กรมประชาสัมพันธ์
ร่วมกับ
ดร.ปาริชาติ
สถาปิตานนท์
อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เพื่อพูดคุยประเด็นวิกฤตไอทีวี
ภายหลังจากคำพิพากษาของศาลปกครองให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาโตตุลาการ
ที่เคยชี้ขาดให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(สปน.)
ลดค่าสัมปทานให้ไอทีวี
ซึ่งมีผลให้ไอทีวีต้องจ่ายค่าสัมปทานและค่าปรับผังรายการ
นับเป็นเงินรวมแล้วกว่าแสนล้านบาท
ซึ่งผมขอสะท้อนมุมมองในประเด็นต่าง
ๆ
จากการได้พูดคุยผ่านรายการ
ดังนี้
สัญญาไอทีวี-สปน.
หลักธุรกิจที่ผู้ทำสัญญาต้องยอมรับ
เพราะการทำสัญญาทางธุรกิจ
เกิดจากความตกลงของทั้งสองฝ่าย
ซึ่งไม่เพียงเป็นการตกลงที่จะแบ่งผลตอบแทนอันเกิดจากการทำธุรกิจนั้น
ๆ
แต่ยังเป็นการทำข้อตกลงในการรับผิด
เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิดหรือผิดสัญญาด้วย
ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องพิจารณา
และประเมินความเสี่ยงในด้านต่าง
ๆ
อย่างดี
ดังนั้นเมื่อผลกำไรของสถานีไม่เป็นไปตามที่คาดไว้
ผู้ถือหุ้นจำเป็นต้องรับผิดชอบความผิดพลาดของตนเอง
พนักงานไอทีวี
ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า
หากถึงที่สุดแล้วมีการเปลี่ยนแปลงในไอทีวีขึ้น
รัฐบาลจำเป็นต้องรักษาพนักงานไอทีวีทั้งระบบซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลด้านสื่อที่มีค่า
เนื่องจากเป็นผู้มีทักษะ
ความรู้ความสามารถในการทำข่าว
ไม่ให้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้
ทั้งนี้
ผมขอเสนอแนวทางการไปสู่สื่อเสรีของไอทีวี
ดังต่อไปนี้
สร้างความมั่นใจคงความเป็น
สถานีเพื่อประชาชน
ก้าวต่อไปของไอทีวี
มีหลายวิธีการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
ในการนำสถานีกลับสู่เจตนารมย์เดิมในการก่อตั้ง
ที่ทำหน้าที่รับใช้ประชาชนอย่างเต็มที่
โดยไม่ถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนผูกขาด
อำนาจทางการเมือง
อำนาจจากรัฐบาล
หากมีการเปลี่ยนมือเจ้าของเกิดขึ้น
รัฐจึงไม่ควรเข้ามาควบคุมไอทีวี
แต่เปิดโอกาสให้เอกชนรายใหม่เข้ามาประมูลสัมปทาน
พร้อมกำหนดเงื่อนไขชัดเจนต่อกันทั้งสองฝ่ายก่อนตกลงที่จะลงนามในสัญญา
อย่างไรก็ตาม
หากรัฐจำเป็นต้องเป็นเจ้าของ
ควรมีการแบ่งสัมปทานประมูลเป็นช่วงเวลา
โดยจัดให้มีผังรายการครบทุกประเภททั้งสาระและบันเทิง
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจจัดรายการประเภทต่าง
ๆ
เข้าถึงเพื่อสร้างทางเลือกที่หลากหลายให้กับประชาชน
สร้างดัชนีชี้วัดคุณภาพรายการและสถานี
สื่อควรถูกตรวจสอบด้วยดัชนีชี้วัดประเภทของรายการว่าเป็นรายการประเภทสาระหรือบันเทิง
เพื่อให้คงตามสัดส่วนประเภทรายการที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา
ป้องกันการยัดเยียดความบันเทิงโดยละเลยรายการที่มีสาระความรู้
อันเกิดจากสถานีอาจมุ่งเน้นสร้างรายได้จากการโฆษณาเป็นหลัก
เก็บเงินรายการบันเทิง
อุดหนุนรายการมีสาระ
โดยการนำรายได้ส่วนหนึ่งที่ทางสถานีได้รับจากรายการที่เน้นความบังเทิง
มาใส่ไว้ในกองทุนเพื่อใช้อุดหนุนผู้ผลิตรายการที่มีสาระประโยชน์
เพื่อให้สามารถผลิตรายการประเภทดังกล่าวอย่างมีคุณภาพ
สามารถอยู่รอดได้
เพราะโดยธรรมชาติของรายการสาระจะได้รับรายได้จากการโฆษณาต่ำกว่ารายการประเภทบันเทิงมาก
สร้างระบบตรวจสอบผู้บริหารสถานี
ในอนาคตข้างหน้าควรมีการจัดรูปแบบการตรวจสอบผู้บริหาร
เพื่อทำให้เกิดการบริหารอย่างโปร่งใส
บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล
และรับผิดชอบต่อสังคม
ไม่ให้เกิดการใช้อำนาจในทางที่ผิดดังที่ผ่านมาในอดีต
แสดงจุดยืนที่มีคุณธรรมชัดเจน
โดยการตรวจสอบและเปิดเผยความจริงต่อผู้ชมทุกด้าน
และกล้าหยิบยกประเด็นจริยธรรมมาถกเถียงเพื่อเกิดความโปร่งใสในสังคม
ให้ผู้ชมเป็นผู้ตัดสินใจรับข้อมูลและใช้วิจารณญาณในการเลือกรับข้อมูลจากสื่อ
โดยไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของกลุ่มทุนหรือนักการเมือง
ซึ่งช่วยให้บรรยากาศการส่งเสริมประชาธิปไตยเกิดมากขึ้นในสังคมไทย
เพิ่มช่องทางสื่อสารระหว่างสถานีและผู้ชม
เพื่อให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกำหนดเนื้อหาสาระของรายการ
โดยการสื่อสารไปยังสถานีโดยวิธีต่าง
ๆ
ทั้งทางโทรศัพท์
อินเทอร์เน็ต
หรือจดหมาย
เอื้อต่อการพัฒนาปรับปรุงเนื้อหารายการให้ตรงกับความต้องการของผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้
ในส่วนของผู้ชมจึงควรทำหน้าที่เป็นผู้รับสารที่กระตือรือร้นในการตรวจสอบสถานีช่องต่าง
ๆ
โดยอาจทำการรวมกลุ่ม
ชมรมเพื่อตรวจสอบการทำงาน
คุณภาพรายการของทางสถานีต่อไป
ในที่สุดไม่ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกรณีวิกฤตไอทีวีจะเป็นอย่างไร
ผมและประชาชนทั้งประเทศต่างคาดหวังให้ไอทีวีเป็นสื่อเสรีที่มีคุณภาพ
ส่งเสริมให้ประชาชนได้รับการพัฒนาและสามารถต่อยอดองค์ความรู้ในสังคมต่อไป
รวมถึงเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการสร้างสังคมประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในทุกกลุ่มคนของสังคมต่อไป
|