กระแสการผลักดันให้มหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบ
ส่งผลให้สังคมเป็นห่วงเรื่องผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อผู้เรียนและสังคม
แต่หากพิจารณาในหลักการของการให้มหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบ
มุ่งเน้นให้มหาวิทยาลัยมีอิสระในการบริหารจัดการ
การควบคุมและการกำกับของรัฐบาลลดลง
หรือมีให้น้อยที่สุด
โดยเน้นการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
ซึ่งนับว่าเป็นหลักการที่ดี
แต่ในขณะเดียวความกังวลในเรื่องของค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงการศึกษาที่จะเพิ่มมากขึ้น
รวมถึงการทำให้การศึกษากลายเป็นการค้าที่มุ่งผลกำไรเป็นสำคัญ
ส่งผลให้กลุ่มคณาจารย์และนักศึกษาส่วนหนึ่ง
ออกมาเรียกร้องให้พิจารณาร่างกฎหมายนี้อีกครั้ง
ผมเคยเสนอความเห็นเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้เรียนที่ด้อยโอกาสหรือกลุ่มผู้เรียนที่ยากจน
ให้สามารถเข้าถึงอุดมศึกษาไว้หลายครั้งเมื่อดำรงตำแหน่ง
ส.ส.
ไม่ว่าจะเป็น
การอภิปรายในวาระรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ.
….
การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ.
….
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
พ.ศ.
….
ซึ่งมีแนวทางดังนี้
การจัดทำกรอบการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ประเด็นการเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงการศึกษานี้
มหาวิทยาลัยต้องมีหลักเกณฑ์ที่เรียกเก็บอย่างชัดเจน
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
และต้องไม่เกินกรอบที่กำหนดไว้
หากไม่มีการกำหนดกรอบการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
ผู้เรียนอาจต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเรียนที่มากเกินจริง
เนื่องจากมหาวิทยาลัยสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาเองได้
การระบุให้มีกองทุนเพื่อการศึกษา
โดยจัดสรรจาก
3
กองทุน
ดังนี้
กองทุนเพื่อการศึกษาจากรัฐบาล
รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการให้ทุนการศึกษาในรูปแบบกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต
โดยมุ่งเน้นการพิจารณาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำถึงปานกลาง
โดยใช้เกณฑ์ความประพฤติ
ประวัติการเรียนที่ผ่านมา
ความประสงค์ของการเรียนในสาขาวิชานั้น
และแนวคิดการนำวิชาความรู้มาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
สังคม
และประเทศ
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีฐานะยากจน
ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงการอุดมศึกษาได้
กองทุนเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัย
โดยการระบุให้มหาวิทยาลัยจัดตั้งกองทุนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ด้านการศึกษา
โดยจัดสรรทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษา
ในรูปแบบของกองทุนให้เปล่าที่จัดสรรมาจากการบริหารเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัย
เช่น
โดยการจัดตั้งจากสมาคมผู้ปกครอง
หรือการนำรายได้จากการให้บริการด้านต่าง
ๆ
ของมหาวิทยาลัย
หรือรายได้จากเงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้มหาวิทยาลัย
โดยมีการร่าง
พ.ร.บ.
ระบุไว้ชัดเจน
เพื่อสร้างหลักประกันด้านโอกาสทางการศึกษาให้นักศึกษาในอนาคต
กองทุนเพื่อการศึกษาจากภาคเอกชน
การที่มหาวิทยาลัยสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน
ที่เข้ามาจัดสรรทุนการศึกษาแก่ผู้เรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในรูปเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
โดยเล็งเห็นว่าจะได้ประโยชน์ร่วมทั้งสองฝ่าย
คือ
สถาบันเอกชนเองสามารถรับคนเรียนดีเข้าสู่สถาบันด้วยการให้ทุนการศึกษา
ในขณะที่ภาคธุรกิจเอกชนเองจะได้ผู้เรียนที่มีคุณภาพป้อนเข้าสู่องค์กรของตนในตลาดแรงงาน
การระดมทุนของมหาวิทยาลัย
ณ ขณะนี้
คงต้องยอมรับว่า
การอุดมศึกษาของไทยยังคงมีความเหลื่อมล้ำสูง
ซึ่งขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์การก่อตั้งและทรัพยากรตั้งต้นของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
โดยมหาวิทยาลัยบางแห่งอาจมีโอกาสน้อยในการสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ
หากวิธีการจัดงบประมาณยังคงถูกจำกัดโดยวิธีการแบบเดิมดังในอดีตและปัจจุบัน
มาตรการหนึ่งซึ่งผมเชื่อว่าจะสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการระดมทุนจากภาคส่วนต่าง
ๆ
แก่มหาวิทยาลัย
คือ
การใช้นโยบายภาษี
โดยรัฐจะต้องเปิดกฎหมายที่เอื้อให้เกิดการบริจาคเพื่อการศึกษา
ดังเช่นนโยบายด้านภาษีของประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่เอื้อให้เกิดการบริจาคเงินเพื่อการศึกษา
ส่งผลให้นายบิลล์
เกตส์
เจ้าของบริษัทคอมพิวเตอร์ชื่อดัง
นำเงินจำนวนมหาศาลบริจาคให้กับมหาวิทยาลัยต่าง
ๆ เช่น
มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด
และ
มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
การบริจาคของบิลล์
เกตส์
ครั้งนี้
เป็นผลจากกฎหมายในด้านภาษีของประเทศอเมริกาที่เอื้อให้เกิดการบริจาคเพื่อการศึกษา
จึงทำให้บิลล์
เกตส์
ต้องการลดการจ่ายภาษีด้วยการสร้างตึกให้กับมหาวิทยาลัย
เป็นต้น
ดังนั้นการสร้างหลักประกันเรื่องการให้มีทุนการศึกษา
จึงเป็นความรอบคอบ
ที่บ่งชี้ว่ามหาวิทยาลัยคำนึงถึงคนรุ่นต่อไปว่าทุกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยที่เขียนมาทั้งหมดนี้
สามารถจะทำให้เราสบายใจว่า
ประเทศชาติจะมีมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ
แม้ว่าความจริงคือกองทุนการศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย
อาจไม่ได้มีเงินมาก
แต่นับว่าเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐลงได้
อีกทั้งเป็นการทำให้ผู้เรียนที่ยากจน
ได้รับโอกาสรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา