ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ
เราไม่สามารถกำหนดล่วงหน้าได้เลยว่า
บุคคล
100
ท่านในสภาร่างรัฐธรรมนูญจะมีตัวแทนของแต่ละภาคส่วนเป็นจำนวนเท่าใด
เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จำนวน
35
คน
ที่อาจจะเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ได้
หากเราคาดหวังว่า
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรจะมาจากภาคประชาชนทุกภาคส่วนอย่างแท้จริงแล้ว
สภาร่างรัฐธรรมนูญควรมีสัดส่วนสมาชิกที่มาจากภาคส่วนต่าง
ๆ
อย่างหลากหลายด้วยเช่นกัน
เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว
อำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจจะตกอยู่กับกลุ่มคนเพียงไม่กี่กลุ่มหรือมาจากผู้เชี่ยวชาญเพียงบางคนเท่านั้น
ดังนั้น
ผมอยากจะเสนอให้กระบวนการคัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจาก
2,000
คนเหลือ100
คน ควรจะกำหนดสัดส่วนของตัวแทนจากภาคส่วนต่าง
ๆ
อย่างหลากหลาย
เช่น
ตัวแทนภาคเศรษฐกิจและสังคม
ตัวแทนภาครัฐ
ตัวแทนภาคการปกครองท้องถิ่น
ตัวแทนจากองค์กรอิสระฯ
ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการ
ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ
เป็นต้น
ขณะเดียวกัน
กระบวนการคัดเลือกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ควรกำหนดเงื่อนไขและคุณสมบัติ
เพื่อให้ได้บุคคลที่หลากหลายควบคู่ไปกับคุณสมบัติที่เหมาะสม
เช่น
หากมาจากนักวิชาการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ
ควรเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการใช้รัฐธรรมนูญที่ผ่านมา
หากมาจากตัวแทนภาคการปกครองท้องถิ่น
จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากสังคมว่าเป็นผู้ที่ปกป้องหรือต่อสู้เรียกร้องเพื่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
หากมาจากตัวแทนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
จะต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าทำงานดังกล่าวด้วยความซื่อสัตย์
สุจริต
และทำงานด้วยความเป็นธรรมโดยไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง