เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ระบบการคุ้มครองทางสังคม
(social
security)
ในประเทศไทย
โดยเฉพาะการประกันสุขภาพ
การประกันชราภาพ
และการประกันเกี่ยวกับการมีงานทำหรือประกันรายได้
มีปัญหาสำคัญคือบริการที่ไม่ครอบคลุมทั่วถึงทุกคน
คุณภาพของการให้บริการที่ค่อนข้างต่ำ
และปัญหาสำคัญคือความไม่เป็นธรรม
สำหรับความไม่ครอบคลุมและขาดคุณภาพนั้นเป็นปัญหาที่ทุกคนทราบดี
แต่หลายคนอาจสงสัยว่า
ระบบคุ้มครองทางสังคมของไทยไม่เป็นธรรมอย่างไร
ในเมื่อคนยากจนได้รับการรักษาพยาบาลในราคาเพียง
30
บาท
คนแก่ที่ยากจนและไม่มีผู้อุปการะได้รับเงิน
300
บาทต่อเดือน
และคนยากจนยังได้รับการช่วยเหลือและสงเคราะห์จากภาครัฐอีกหลายโครงการ
โดยนำเงินช่วยเหลือมาจากการเก็บภาษีจากผู้ที่มีรายได้สูงกว่า
เหตุที่กล่าวว่าไม่เป็นธรรม
เพราะยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่มีความสามารถในการจ่าย
แต่กลับไม่ได้มีส่วนร่วมจ่าย
โดยเฉพาะในโครงการ
30
บาทรักษาทุกโรค
ที่มีผู้มีรายได้สูงบางส่วนมาร่วมใช้บริการ
โดยที่จ่ายในราคา
30
บาทเท่ากับผู้ที่มีรายได้น้อย
ความไม่เป็นธรรมอีกประการหนึ่งคือ
โครงสร้างภาษีที่ไม่เป็นธรรม
เพราะเก็บอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากชนชั้นกลางและผู้ที่อยู่ในระบบ
แต่คนรวยและผู้ที่อยู่นอกระบบกลับมีช่องทางหลีกเลี่ยงภาษี
ผมจึงมีความคิดว่า
ระบบประกันสังคมในประเทศไทยควรได้รับการปฏิรูป
ให้เป็นการประกัน
(insurance)
ที่
ทั่วถึง
มีคุณภาพ
และเป็นธรรม
และเป็นการจัดสรรทรัพยากรใหม่
(redistribution)
ทั้งแบบข้ามกลุ่มคนจาก
แข็งแรงช่วยเจ็บป่วย
รวยช่วยจน
หนุ่มสาวช่วยคนชรา
และแบบข้ามเวลาจากปัจจุบันสู่อนาคต
โดยการขยายให้ครอบคลุมแรงงานทั้งประเทศ
ระบบประกันสังคมปัจจุบันครอบคลุมแรงงานในระบบเพียง
13.8
ล้านคน
ยังมีแรงงานนอกระบบ
22.5
ล้านคนที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง
ถึงแม้แรงงานนอกระบบได้รับการประกันด้านสุขภาพจากโครงการ
30
บาทรักษาทุกโรค
แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน
ผมเห็นว่าแรงงานทุกคนควรเข้าสู่ระบบประกันสังคม
โดยให้ทุกคนมาขึ้นทะเบียนประกันสังคมเพื่อรับสิทธิการประกันสังคม
ซึ่งจะได้รับบริการที่ครอบคลุมทุกอย่างและตามมาตรฐานเดียวกันกับที่ประกันสังคมให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
ได้แก่
ประกันสุขภาพ
ประกันชราภาพ
และประกันการว่างงาน
โดยรายละเอียดของนโยบายผมจะกล่าวถึงในบทความครั้งต่อไป
|