เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
จากการประชุมสภาสมัยสามัญ
วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.
2548
พ.ศ
.ที่ผ่านมา
ผมได้เสนอแปรญัตติให้ตัดนายกรัฐมนตรีออกจากการรักษาการตาม
พ.ร.บ.นี้
เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม
ทำให้นายกฯมีอำนาจมากเกินไป
อำนาจซ้ำซ้อน
เปิดช่องให้ใช้งบประมาณอย่างไม่โปร่งใส
และไม่รอบคอบ
แต่นาย วราเทพ
รัตนากร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในฐานะรองประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี
ได้แสดงความเห็นแย้งว่า
นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ที่สมควรมากที่สุด
เนื่องจากเป็นไปตาม
พ.ร.บ.
วิธีการงบประมาณ
พ.ศ.
2502
แก้ไขเพิ่ม
(ฉบับที่
6)
พ.ศ.2543
มาตรา 5
ที่ระบุให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตาม
พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณฯ
และกล่าวว่าพฤติกรรมการใช้อำนาจอย่างไม่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่า
การที่ พ.ร.บ.
วิธีการงบประมาณ
พ.ศ.
2502
ระบุให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการรักษานั้น
ผมไม่มีความคิดเห็นที่ขัดแย้งแต่อย่างใดหากว่ารัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลผสมที่ไม่สามารถใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จได้
แต่ในปัจจุบันรัฐบาลเป็นรัฐบาลพรรคเดียว
ผมจึงกังวลว่ากฎหมายได้เปิดช่องให้นายกฯ
มีอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จมากเกินไปหรือไม่ในการเบิกจ่ายงบประมาณฯ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาจากพฤติกรรมที่ผ่านมาจะเห็นว่า
นายกฯมีแนวโน้มของการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ
ซึ่งเห็นได้จากการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุม
ครม.พ.ศ.....
ที่ระบุว่า
กรณีจำเป็นฉุกเฉิน
นายกรัฐมนตรีสามารถเรียกประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องฉุกเฉินกับรัฐมนตรีบางคน
ไม่จำเป็นต้องเรียก
ครม.ทั้งคณะ
รวมทั้งการที่รัฐบาลชุดนี้ได้แบ่งงบไว้สำหรับงบฉุกเฉินเป็นจำนวนมาก
ซึ่งงบประมาณในส่วนนี้เป็นอำนาจของนายกฯ
ที่สามารถเบิกจ่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคำร้องขอหน่วยงานราชการ
ซึ่งอาจทำให้เกิดการนำงบประมาณไปใช้อย่างไม่รอบคอบ
เพราะไม่ต้องผ่าน
มติ ครม.
ดังนั้นผมจึงคิดว่านายกรัฐมนตรีจึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาการตาม
พ.ร.บ.ฉบับนี้ครับ
|