เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
เมืองศูนย์กลางการบิน
(Aerotropolis)
เป็นนวัตกรรมทางความคิดของดอกเตอร์
จอห์น ดี
คาซาร์ดา
ผู้อำนวยการสถาบันคีนันของวิสาหกิจเอกชน
แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลน่า
ซึ่งมีแนวคิดเบื้องหลังว่า
สนามบินจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการจัดตั้งธุรกิจและการพัฒนาเมืองในศตวรรษที่
21
เช่นเดียวกับเส้นทางหลวงในศตวรรษที่
20
ทางรถไฟในศตวรรษที่
19
และท่าเรือในศตวรรษที่
18
แนวคิดนี้เป็นความพยายามรวบรวมกิจกรรมต่าง
ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับสนามบินมาอยู่ใกล้กับสนามบิน
อาทิ
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศ
การติดต่อธุรกิจระหว่างประเทศและระหว่างเมือง
การท่องเที่ยว
และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง
ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าว
ลักษณะของเมืองศูนย์กลางการบินจึงมีสนามบินเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเมือง
และรายล้อมด้วยพื้นที่ตั้งของอุตสาหกรรมเบา
สำนักงาน
ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่
โรงแรม
ร้านอาหาร
สถานบันเทิงและพักผ่อนหย่อนใจ
สนามกอล์ฟ
และที่อยู่อาศัย
หลักการในการจัดตั้ง
“สุวรรณภูมิมหานคร”
มีที่มาจากแนวคิดเมืองศูนย์กลางการบินดังกล่าว
และเป็นทิศทางการพัฒนาพื้นที่ที่กำลังเกิดขึ้นในสนามบินหลายแห่งทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม
การที่รัฐบาลรีบเร่งผลักดันการจัดตั้งสุวรรณภูมิมหานครนั้น
มีความจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่?
การตั้งชื่อ
“สุวรรณภูมิมหานคร”
สะท้อนหลักการเบื้องหลังว่า
รัฐบาลอาจต้องการพัฒนาพื้นที่รายรอบสนามบินสุวรรณภูมิให้เป็นเมืองใหญ่
ซึ่งขัดแย้งกับหลักการพัฒนาเมืองศูนย์กลางสนามบินที่เน้นการเข้าถึงสนามบิน
กล่าวคือเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งให้เพียงพอ
สามารถขนส่งคนและสินค้าเข้า-ออกสนามบินได้อย่างรวดเร็ว
มิใช่การพัฒนาเพื่อให้คนเข้ามาอยู่อาศัยหรือทำงานอย่างหนาแน่น
ส่วนแนวคิดในการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคนั้น
ยังเป็นประเด็นที่ต้องศึกษาอย่างรอบคอบ
และดำเนินการตามกรอบเวลาที่เหมาะสม
เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและมีแนวโน้มสูงต่อไปอีกในระยะยาว
จะทำให้ต้นทุนของการขนส่งทางอากาศยังคงสูงมากเมื่อเทียบกับการขนส่งแบบอื่น
ๆ
โดยการขนส่งทางอากาศใช้พลังงานต่อน้ำหนักบรรทุกต่อระยะทางคิดเป็น
10
เท่าของการขนส่งโดยรถบรรทุก
และ
100
เท่าของการขนส่งทางเรือและรถไฟ
ดังนั้นการขนส่งทางอากาศอาจไม่ได้มีอนาคตมากนัก
ขณะที่ความต้องการขนส่งสินค้าทางอากาศยังมีน้อยมาก
เนื่องจากโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
ส่วนใหญ่ยังไม่ได้เป็นอุตสาหกรรมเบาหรือสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
หรือถึงแม้จะมีอุตสาหกรรมเบาอยู่บ้าง
อุตสาหกรรมเหล่านี้มีมูลค่าเพิ่มสูงและสินค้ามีน้ำหนักเบา
ทำให้มีต้นทุนการขนส่งคิดเป็นสัดส่วนค่อนข้างต่ำ
จึงไม่มีความจำเป็นมากนักที่จะต้องตั้งโรงงานอยู่ใกล้สนามบิน
แม้การขนส่งทางอากาศจะมีความจำเป็นมากขึ้นในอนาคต
แต่การลงทุนจำนวนมหาศาลเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก
(การก่อสร้างเมืองในพื้นที่รับน้ำและแผ่นดินทรุดยิ่งทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นอีก)
เพื่อรองรับการขนส่งทางอากาศอาจจะต้องมีการทบทวน
และดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เพราะในเวลานี้
การพัฒนาระบบขนส่งในรูปแบบอื่น
ๆ
เช่นทางรถไฟ
ถนน
หรือระบบขนส่งเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
อาจจะมีความคุ้มค่ามากกว่า
|