เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ตามที่กระทรวงการคลังเตรียมดึงเงินฝากของกองทุนและส่วนราชการต่าง
ๆ จำนวน
1
แสนล้านบาทจากทั้งหมด
3
แสนล้านบาท
นำมาฝากกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธกส.)
และธนาคารอาคารสงเคราะห์
(ธอส.)
ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี
เพื่อปล่อยกู้ตามนโยบายรัฐบาล
และลดภาระในการระดมเงินฝากทั้งของ
2
ธนาคาร
โดยตั้งเงื่อนไขว่า
ส่วนราชการต่าง
ๆ
จะต้องได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไม่ต่ำกว่าที่ได้รับจากสถาบันการเงินเดิมด้วย
ผมมีข้อพิจารณาเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว
ดังนี้
ประการแรก
เป็นการแทรกแซงกลไกทางการตลาด
โดยปกติหน่วยงานภาครัฐจะฝากเงินในธนาคารพาณิชย์ที่รัฐเป็นเจ้าของ
51%
ขึ้นไป
คือธนาคารกรุงไทย
รวมทั้งยังผ่อนผันให้ฝากในธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารไทยธนาคารด้วย
การดึงเงินฝากออกจากระบบธนาคารพาณิชย์มาฝากยัง
ธกส.และ
ธอส.
อาจทำให้อัตราดอกเบี้ยในระบบสูงขึ้นอีก
เพราะธนาคารพาณิชย์ที่มีเงินฝากลดลงจำเป็นต้องแข่งขันกันขึ้นดอกเบี้ยเพื่อระดมเงินฝาก
ซึ่งเมื่อดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและภาคเอกชนที่มีหนี้อยู่ในธนาคารพาณิชย์อื่น
ๆ ด้วย
ประการที่สอง
เป็นการซ่อนหนี้สาธารณะ
การดำเนินการดังกล่าวเป็นการเปิดช่องให้รัฐบาลมีโอกาสใช้เงินนอกงบประมาณมากขึ้น
โดยการบังคับให้ธนาคารของรัฐปล่อยกู้ตามนโยบายประชานิยมของรัฐบาล
ซึ่งเป็นการปล่อยกู้ที่มีความเสี่ยงสูงและอาจจะทำให้ธนาคารรัฐมีหนี้เสียเพิ่มขึ้น
หากเกิดความเสียหายขึ้นกับธนาคารของรัฐ
แสดงว่ารัฐบาลมีภาระผูกพันที่จะต้องจัดงบประมาณมาใช้คืนในอนาคต
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
เป็นการสร้างภาระหนี้ที่ไม่ปรากฏในบัญชีหนี้สาธารณะนั่นเอง
ประการที่สาม
สะท้อนว่ารัฐบาลไม่มีเงิน
การโยกเงินของภาครัฐมาไว้ที่ธนาคารรัฐเป็นอีกพฤติกรรมหนึ่งที่ยืนยันว่า
รัฐบาลมีปัญหาทางการคลัง
หรือปัญหา
ถังแตก
ทั้งนี้เพราะนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมาก
จนส่งผลให้ระดับเงินคงคลังอยู่ในระดับต่ำ
รัฐบาลจึงจำเป็นต้องดึงเงินฝากของส่วนราชการมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ประการที่สี่
อาจทำให้หน่วยงานภาครัฐขาดสภาพคล่อง
เพราะเงินฝากของหน่วยงานรัฐ
เป็นเงินไว้ใช้จ่ายหมุนเวียนในการดำเนินธุรกรรมต่าง
ๆ
การที่รัฐบาลนำเงินฝากของหน่วยงานรัฐไปฝากไว้ที่ธนาคารรัฐทั้งสองแห่งจึงไม่เป็นการกระจายความเสี่ยง
เพราะหากธนาคารรัฐทั้งสองแห่งจะต้องปล่อยกู้ตามนโยบายของรัฐบาลจนกลายเป็นหนี้เสียจำนวนมาก
อาจจะทำให้ธนาคารของรัฐขาดสภาพคล่อง
ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้หน่วยงานภาครัฐขาดสภาพคล่องตามไปด้วย
การกำหนดนโยบายต่าง
ๆ
ไม่ควรเกิดจากคำสั่งของผู้มีอำนาจ
โดยไม่พิจารณาไตร่ตรอง
แต่จำเป็นต้องมีการนำคำสั่งนั้นมาศึกษาถึงผลกระทบอย่างรอบคอบ
และเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น
ๆ ด้วย
|