เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
จากการเลือกตั้งวันอาทิตย์ที่
2
เมษายน
2549
มีหลายประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ
โดยเฉพาะ
ผลการเลือกตั้งที่ออกมาอย่างไม่เป็นทางการว่า
ไม่เลือกใคร
ในเขตกรุงเทพมหานครฯ
มีคะแนนมากถึง
1,319,268
เสียง
มากกว่าคะแนนของผู้ได้รับเลือกเป็น
ส.ส.รวมกัน
35
เขต
และมีจำนวนบัตรเสียมากถึง
95,910
ใบ
ในขณะที่ต่างจังหวัด
จำนวนของลงคะแนน
ไม่เลือกใคร
มีมากถึง
6,766,883
เสียง
และมีจำนวนบัตรเสียมากถึง
2,962,593
บัตร
นอกจากนี้ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ
ในเขตพื้นที่ทั่วประเทศจะต้องมีการเลือกตั้งใหม่
ถึง
35
เขต
15
จังหวัด
ปัญหาไม่ได้มีเพียงการเลือกตั้งส.ส.ใหม่อีก
35
เขตเท่านั้น
แต่อีกประเด็นที่น่าจับตามองคือ
กรณีของว่าที่
ส.ส.ซึ่งได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ
20
และได้คะแนนเสียงน้อยกว่าจำนวนผู้ที่ลงคะแนน
ไม่เลือกใคร
แต่ด้วยเหตุที่มีผู้สมัครมากกกว่า
1
คน
จึงทำให้ได้เป็น
ส.ส.
ขณะที่บางพื้นที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว
แต่ถึงแม้จะได้คะแนนมากกว่าเขตที่มีผู้สมัครหลายคน
แต่กลับไม่ได้เป็น
ส.ส.
เพราะได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ
20
เช่นในกรณีของเขตที่
3
พื้นที่ในจังหวัดตรัง
ที่มีผู้สมัคร
2
คน
ผู้สมัครจากไทยรักไทยได้คะแนนเสียง
7,431
คะแนน
ในขณะที่คะแนน
ไม่เลือกใคร
สูงถึง
46,977
คะแนน
และจำนวนบัตรเสีย
11,404
ใบ
ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยยังสามารถเป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯได้เพราะว่ามีคู่แข่งในเขตนั้น
แต่ในขณะเดียวกันการเลือกตั้งในเขตที่
4
จังหวัดตรังเช่นกัน
มีผู้สมัครเพียงคนเดียวได้คะแนน
9,857
คะแนน
แต่ไม่ถึงร้อยละ
20
ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
จึงต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
ทั้งที่ได้คะแนนเสียงมากกว่าผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่
3
จังหวัดตรัง
ปรากฏการณ์ของผู้ที่ได้เป็น
ส.ส.เพียงเพราะมีคู่แข่งในการลงเลือกตั้ง
แม้ผู้ลงคะแนนเสียงส่วนใหญ่จะไม่ต้องการ
จึงไม่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่
ตัวอย่างการเลือกตั้งในประเทศฝรั่งเศสมีการใช้ระบบการใช้เสียงส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือตัดสินว่าผู้สมัครคนใดควรจะได้เข้ามาเป็นผู้แทนฯ
เช่น
หากมีผู้สมัคร
5
คน
คนที่จะได้รับเลือกจะต้องได้คะแนนมากกว่าร้อยละ
50
หรือในกรณีที่คะแนนไม่ถึงร้อยละ
50
คนที่ได้เสียงมากที่สุดและรองลงมาจะต้องมีการเลือกกันอีกครั้งเพื่อเป็นการตัดสินอย่างชัดเจน
ดังนั้นผมมีความคิดเห็นว่า
ในอนาคต
กกต.ควรจะเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการตัดสินให้เป็นรูปแบบของ
เสียงส่วนใหญ่
(Majority
Vote)
แต่คงไม่จำเป็นต้องยุ่งยากซับซ้อนเหมือนกับประเทศฝรั่งเศส
ผมขอเสนอว่า
ผู้ที่จะได้เป็น
ส.ส.ควรได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในจำนวนผู้สมัคร
โดยต้องคำนึงถึงผู้ที่ลงคะแนนงดออกเสียงด้วย
ไม่เช่นนั้นคนที่ได้เป็น
ส.ส.
อาจจะไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่
และเพื่อเป็นการสะท้อนความต้องการของผู้มีสิทธิอย่างแท้จริงว่าต้องการอะไร
ผมมีความเห็นว่า
ผู้ที่จะได้เป็น
ส.ส.
ควรที่จะได้คะแนนเสียงมากกว่าคะแนนที่งดออกเสียงด้วย
|