เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ข้อสรุปเบื้องต้นในการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง
3
สาย
รัฐบาลรักษาการกำหนดให้มีการดำเนินการด้วยวิธีการจ้างออกแบบควบคู่ไปกับการก่อสร้าง
(Design
and
Build)
โดยรัฐจะจัดหาแหล่งเงินกู้ไว้รองรับ
แต่เปิดช่องให้เอกชนสามารถเสนอแผนการเงินได้
วิธีการออกแบบควบคู่ไปกับการก่อสร้างเป็นวิธีการจ้างผู้รับเหมารายเดียวทำหน้าที่ทั้งการออกแบบและก่อสร้าง
ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ที่มีการนำมาใช้มากขึ้น
ในต่างประเทศ
อย่างไรก็ดี
วิธีการนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการเดิม
คือ
ออกแบบ-ประมูล-ก่อสร้าง
(Design-Bid-Build)
การจ้างออกแบบควบคู่ไปกับการก่อสร้างมีข้อดี
คือ
หน่วยราชการไม่ต้องเผชิญความขัดแย้งและข้อพิพาทระหว่างผู้ออกแบบกับผู้รับเหมาก่อสร้าง
ผู้ก่อสร้างมีส่วนร่วมในการออกแบบ
การดำเนินโครงการมีความยืดหยุ่นและใช้เวลาสั้นกว่า
ค่าก่อสร้างแน่นอน
และหน่วยราชการไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก
แต่วิธีการนี้มีข้อเสีย
คือ
เอกสารประมูลไม่มีรายละเอียด
การพิจารณาผู้ชนะการประมูลไม่มีเกณฑ์ชัดเจน
การควบคุมคุณภาพการก่อสร้างเป็นไปได้ยาก
และผู้รับเหมาขนาดเล็กไม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้
ส่วนวิธีการออกแบบ-ประมูล-ก่อสร้าง
เป็นการดำเนินโครงการโดยการว่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบโครงการโดยละเอียดเสียก่อน
แล้วจึงเปิดประมูลเพื่อคัดเลือกผู้รับเหมามาทำการก่อสร้างตามแบบที่ได้ออกแบบไว้
ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียตรงกันข้ามกับข้อเสียและข้อดีของวิธีการออกแบบควบคู่ไปกับการก่อสร้าง
การเลือกวิธีการดำเนินโครงการจึงขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงการแต่ละโครงการ
การให้น้ำหนักกับข้อดีและข้อเสียในแต่ละประเด็น
รวมทั้งสถานการณ์ของประเทศในช่วงเวลาที่ดำเนินการก่อสร้างเป็นสำคัญ
จากการติดตามโครงการรถไฟฟ้ามาโดยตลอด
ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีการจ้างออกแบบควบคู่ไปกับการก่อสร้างสำหรับโครงการรถไฟฟ้า
3
สายนี้
ดังต่อไปนี้
เหมาะสมหรือไม่
เหตุผลสำคัญของการใช้วิธีการจ้างออกแบบควบคู่ไปกับการก่อสร้าง
คือความยืดหยุ่นของการดำเนินงาน
เพราะการจ้างในรูปแบบนี้เป็นการออกแบบไป
ก่อสร้างไป
จึงเหมาะสมกับโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
แต่ระยะเวลาในการก่อสร้างกลับค่อนข้างยาวนาน
การใช้วิธีการจ้างรูปแบบนี้จะทำให้ได้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด
คำถามคือ
จริงหรือไม่ที่งานทุกส่วนของโครงการรถไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
ในความเป็นจริง
มีเพียงระบบรถไฟฟ้าเท่านั้นที่เทคโนโลยีน่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
แต่งานด้านโยธา
เช่นการก่อสร้างอุโมงค์และสถานีรถไฟฟ้า
ไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็วนัก
ผมจึงเห็นด้วยกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เสนอว่า
ควรแยกงานโยธาออกจากงานระบบรถไฟฟ้า
ผมเห็นว่า
รัฐบาลควรใช้วิธีการจ้างแบบผสม
กล่าวคือการออกแบบอย่างเจาะจงและชัดเจนสำหรับงานโยธาที่ไม่มีผลกระทบต่อระบบรถไฟฟ้า
และเปิดให้มีความยืดหยุ่นได้ในงานระบบรถไฟฟ้า
ด้วยเหตุผลที่เทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงเร็ว
และเพื่อเปิดกว้างให้มีการแข่งขันของระบบรถไฟฟ้าแบบต่าง
ๆ
แต่กระนั้นร่างเอกสารประกวดราคาในโครงรถไฟฟ้าทั้ง
3
สายนั้น
กลับเปิดกว้างมากเกินไป
โดยได้ให้ผู้ยื่นประมูลเสนอได้แม้กระทั่งเส้นทางของรถไฟฟ้า
ซึ่งเป็นรายละเอียดที่รัฐบาลควรจะมีความชัดเจนแล้ว
ซ้ำซ้อนหรือไม่
เหตุที่ตั้งข้อสังเกตเช่นนี้เนื่องจากเมื่อปี
2546
รัฐบาลทักษิณ
1
ได้อนุมัติดำเนินการออกแบบรายละเอียด
และก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงบางใหญ่
-
ราษฎร์บูรณะ
ช่วงบางใหญ่
–
บางซื่อ
โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
(รฟม.)
ได้ใช้งบประมาณไปแล้วประมาณ
300
ล้านบาท
ในการจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสม
ออกแบบรายละเอียด
และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการฯ
คำถามคือ
ในเมื่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้มีการออกแบบในรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการฯ
ไปแล้ว
เหตุใดรัฐบาลจึงใช้วิธีการจ้างออกแบบควบคู่ไปกับการก่อสร้างอีก
การเลือกรูปแบบการดำเนินการดังกล่าวเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน
ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณหรือไม่
โปร่งใสหรือไม่
เอกสารการประมูลที่กำหนดขอบเขตงานที่กว้างขวางมาก
และการเปิดกว้างให้ผู้ที่ยื่นประมูลสามารถเสนอเงื่อนไขในการก่อสร้างโครงการฯ
ได้อย่างยืดหยุ่นมาก
ประกอบกับการพิจารณาคัดเลือกผู้ประมูลโดยที่ยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน
แต่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น
ทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจว่า
การประมูลโครงการนี้จะโปร่งใสหรือไม่
ยิ่งไปกว่านั้น
ข้อเสียสำคัญของวิธีการจ้างออกแบบควบคู่ไปกับการก่อสร้าง
คือความสามารถของผู้ว่าจ้างในการควบคุมการออกแบบและควบคุมคุณภาพของการก่อสร้างโครงการลดลง
และความจำกัดในการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่กระบวนการออกแบบโครงการ
ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ว่า
การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทั้ง
3
สายจะมีคุณภาพหรือไม่
และจะมีการดำเนินการที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้รับเหมาหรือไม่
ประการสำคัญ
การที่รัฐบาลรักษาการเป็นผู้ตัดสินใจเปิดประมูลโครงการนี้
นอกจากจะทำให้เกิดเสียงครหาว่าเป็นความไม่เหมาะสมที่รัฐบาลรักษาจะสร้างภาระผูกพันไปยังรัฐบาลชุดหน้าแล้ว
การที่รัฐบาลที่มีข้อกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างหนาหู
พยายามรีบเร่งดำเนินโครงการในช่วงที่ยังไม่มีรัฐสภาเข้ามาตรวจสอบ
โดยอ้างความต้องการของประชาชนและราคาน้ำมัน
ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งยิ่งไม่มั่นใจว่า
การดำเนินโครงการนี้จะมีความโปร่งใสหรือไม่
แม้วิธีการออกแบบพร้อมกับการก่อสร้างมีหลักการที่ดี
แต่การนำวิธีนี้มาใช้
รัฐบาลต้องพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายโครงการ
และตั้งคำถามกับตนเองว่า
สถานะของรัฐบาลในเวลานี้เหมาะสมที่จะเป็นผู้ดำเนินโครงการนี้
ด้วยวิธีการนี้หรือไม่
|