เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันน่าสนใจอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะการที่ฝ่ายตุลาการ
คือ
ศาลยุติธรรม
ศาลปกครอง
และศาลรัฐธรรมนูญ
เข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่กำลังมีแนวโน้มไปสู่ความรุนแรง
ศาลทั้งสามแห่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับในความเป็นกลาง
และมีอำนาจในการตัดสินข้อขัดแย้งทางการเมือง
โดยไม่ทำลายระบอบประชาธิปไตย
ยิ่งไปกว่านั้นการที่ทั้งสามศาลร่วมมือกันในการวินิจฉัยกรณีพิพาททางการเมือง
จะทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นว่าจะได้คำวินิจฉัยที่ยุติธรรมอย่างแท้จริง
เพราะศาลจะมีการปรึกษาหารือกันและพยายามทำให้คำวินิจฉัยในเรื่องต่าง
ๆ
เป็นเอกภาพ
ไม่ขัดแย้งกัน
อย่างไรก็ตาม
ภายใต้เงื่อนไขของความเป็นประชาธิปไตย
กล่าวคือ
ต้องไม่เป็นการเลือกตั้งแบบพรรคเดียว
ต้องได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบทั้ง
500
คน
และต้องไม่ใช่นายกรัฐมนตรีพระราชทาน
ทำให้มีการคาดการณ์ว่า
มีความเป็นไปได้สูงที่ศาลจะวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่
2
เมษายน
2549
เป็นโมฆะ
หากศาลตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
แม้ว่าคำวินิจฉัยเช่นนี้จะทำให้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองคลี่คลายลงได้
แต่ยังมีประเด็นที่ยังต้องได้รับการสะสางต่อไปอีก
ซึ่งอาจจะเป็นผลกระทบจากคำตัดสิน
หรือเป็นข้อสงสัยที่ยังไม่ได้รับคำตอบ
ใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น?
หากการเลือกตั้งเป็นโมฆะย่อมทำให้เกิดความเสียหายขึ้น
ได้แก่
ความเสียหายต่องบประมาณแผ่นดินที่ใช้ในการจัดการเลือกตั้ง
และความเสียหายต่อพรรคการเมืองและผู้ลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งที่ลงทุนไปในการหาเสียงเลือกตั้ง
ตลอดจนผลเสียต่อผู้ที่ประท้วงการเลือกตั้งจนเกิดเป็นคดีความต่าง
ๆ
เมื่อการเลือกตั้งไม่ชอบธรรม
แล้วใครจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือคณะรัฐมนตรี?
ในเมื่อ
กกต.อ้างว่าตนได้จัดการเลือกตั้งตามอำนาจที่กฎหมายได้ให้ไว้
ในขณะที่นายกรัฐมนตรีอ้างว่าตนได้ใช้อำนาจยุบสภาอย่างชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง
ปัญหาความไม่ชอบธรรมของการเลือกตั้งนั้น
ย่อมเกิดจากสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง
ระหว่างกระบวนการจัดการเลือกตั้งที่ไม่ชอบธรรม
หรือเกิดจากการยุบสภาที่ไม่ชอบธรรม
จนเป็นเหตุทำให้พรรคฝ่ายค้านบอยคอตไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง
ซึ่งส่งผลทำให้เกิดปัญหาการเลือกตั้งแบบพรรคเดียว
ผมเกรงว่า
คำวินิจฉัยของศาลจะระบุเกี่ยวกับความไม่ชอบธรรมของการเลือกตั้งเท่านั้น
แต่ไม่ได้ระบุว่าใครต้องรับผิดชอบและจะต้องรับผิดชอบอย่างไร
ส่งผลทำให้ผู้ที่มีส่วนในการสร้างปัญหาหลีกเลี่ยงที่จะรับผิดชอบต่อความเสียหาย
ดังที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกรณีที่ศาลปกครองยกเลิกการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แต่รัฐบาลกลับไม่รับผิดชอบความบกพร่องและความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด
ใครจะเป็นผู้จัดการเลือกตั้งครั้งใหม่?
แม้ว่าศาลจะตัดสินให้การเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นโมฆะ
แต่ปัญหาที่ยังคงอยู่คือ
ใครจะเป็นผู้จัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น?
หากคำวินิจฉัยของศาลระบุว่าเป็นความไม่ชอบธรรมจากกระบวนการจัดการเลือกตั้ง
แต่คณะกรรมการเลือกตั้งทั้งสี่ท่านไม่ได้แสดงความรับผิดชอบโดยการลาออก
แสดงว่า
กกต.ชุดเดิมยังคงเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่จัดการเลือกตั้งครั้งใหม่
เมื่อศาลตัดสินว่ากระบวนการเลือกตั้งไม่ชอบธรรม
แต่ กกต.
กลับไม่รับผิดชอบโดยการลาออก
ย่อมทำให้เกิดคำถามตามมาว่า
ประชาชนและพรรคฝ่ายค้านจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่า
การเลือกตั้งครั้งใหม่จะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
ในเมื่อผู้ที่จัดการเลือกตั้งยังคงเป็นกลุ่มคนชุดเดิม
อย่างไรก็ตาม
หาก กกต.ทั้ง
4
ท่านแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกจากตำแหน่ง
ปัญหาที่จะเกิดตามมาคือ
ใครจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งเพราะไม่มีผู้ที่ดำรงตำแหน่งใน
กกต.
ยิ่งไปกว่านั้น
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ
การสรรหา
กกต.ชุดใหม่จะไม่สามารถดำเนินการได้
เพราะมีคณะกรรมการสรรหา
กกต.ไม่ครบองค์
โดยปราศจากผู้แทนพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในอีกด้านหนึ่ง
หากศาลตัดสินว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะเนื่องจากการยุบสภาเป็นไปอย่างไม่ชอบธรรม
หมายความว่าสภาผู้แทนราษฎรจะยังคงดำรงอยู่
และคณะรัฐมนตรียังคงเป็นชุดเดิม
คำถามที่ตามมาคือ
นายกฯ
จะรับผิดชอบต่อความบกพร่องในการยุบสภาดังกล่าวหรือไม่
และจะรับผิดชอบอย่างไร
หาก พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร
ไม่รับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
อาจกลายเป็นชนวนความขัดแย้งครั้งใหม่เกิดขึ้นตามมาอีก
แต่หากนายกฯ
ตัดสินใจรับผิดชอบโดยการยุบสภา
ปัญหาจะกลับมาสู่วังวนเดิมอีก
ดังนั้นหากศาลตัดสินว่าการยุบสภาไม่ชอบธรรม
ทางออกที่ดีที่สุดของท่านนายกฯ
คือการแสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกเท่านั้น
เมื่อนายกฯลาออกแล้ว
กกต.ยังไม่จำเป็นต้องจัดการเลือกตั้งใหม่
แต่ให้รัฐบาลและรัฐสภาทำหน้าที่แก้ไขมาตรา
313
ในรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้มีคนกลางเข้ามาทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ
จากนั้นเมื่อรัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว
รัฐบาลจึงประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่
ดูเหมือนว่า
หากศาลตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
อันเนื่องมาจากความไม่ชอบธรรมของการยุบสภา
น่าจะเป็นทางออกที่มีปัญหาตามมาน้อยกว่า
การวินิจฉัยว่ากระบวนการจัดการเลือกตั้งไม่ชอบธรรม
แต่ถึงแม้ว่าศาลจะวินิจฉัยว่าการยุบสภาไม่ชอบธรรม
ปัญหาครั้งนี้จะยังไม่คลี่คลายได้โดยง่าย
หากนายกฯ
ไม่แสดงความรับผิดชอบโดยการลาออก |