เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก
ในฐานะที่ผมเคยเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ
ชุดแรก
ซึ่งในการประชุมสภาผู้แทนฯ
ได้มีวาระเกี่ยวกับรายงานประจำปี
พ.ศ.2546
ของสภาที่ปรึกษาฯ
เข้าสภา
ผมขอเป็นเสียงสะท้อนให้กับสภาที่ปรึกษาฯ
ว่าที่ผ่านมา
คณะรัฐมนตรีมักเพิกเฉยต่อความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯมาโดยตลอด
หากนับถึงปัจจุบัน
สภาที่ปรึกษาฯ
ได้จัดทำข้อเสนอมายัง
ครม.กว่า
100
เรื่อง
แต่มีเรื่องที่ค้างการพิจารณาอยู่ที่คณะรัฐมนตรีถึงกว่า
40
เรื่อง ทั้ง ๆ
ที่หลายเรื่องเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ควรรีบพิจารณา
นอกจากนี้
ในเรื่องที่นำไปพิจารณาพบว่า
คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เวลามากในการพิจารณาข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาฯ
นับตั้งแต่การได้รับความเห็นและข้อเสนอแนะฯ
พบว่า ครม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ใช้เวลาเฉลี่ยในการพิจารณามากกว่า
168
วัน ทั้ง ๆ
ที่ควรพิจารณาเสร็จในเวลาไม่เกิน
15-20
วัน
ทำให้ข้อเสนอฯ
ในประเด็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการ
กลับไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติ
เพราะช้าเกินไปไม่ทันการณ์
ยิ่งต่อไป
รัฐบาลมีแนวนโยบายยกเลิกการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาจะสามารถถูกเพิกเฉยจากรัฐบาลได้โดยสมบูรณ์
ทั้งนี้เพราะในการดำเนินการของรัฐบาลและส่วนราชการ
มีเพียงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเท่านั้น
ที่กฎหมายกำหนดให้ผ่านความเห็นของสภาที่ปรึกษาฯ
ที่รัฐบาล
ในขณะที่แผนอื่น
ๆ
ไม่ต้องผ่านความเห็นของสภาที่ปรึกษาฯ
ก่อนการประกาศใช้
ทำให้รัฐบาลจึงไม่มีความจำเป็นใด
ๆ
ในการรับฟังความคิดเห็นของสภาที่ปรึกษาฯ
ฉะนั้นทางออกเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสภาที่ปรึกษาฯ
คณะรัฐมนตรี
หน่วยงานราชการ
และสภาที่ปรึกษาฯ
ควรร่วมกันกำหนดกฎหมายบัญญัติให้สภาที่ปรึกษาฯ
ต้องให้ความเห็นในกระบวนการจัดทำแผนระดับชาติต่าง
ๆ
ก่อนการประกาศใช้
รวมทั้งสภาที่ปรึกษาฯและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีควรทำข้อตกลงกันอย่างเป็นทางการ
เกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนพิจารณา
และการจัดทำรายงานผลการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาฯ
โดยประเด็นสำคัญที่ควรมีการตกลงกัน
เช่น
กำหนดขั้นตอนการพิจารณาความเห็นและข้อเสนอแนะฯ
อย่างชัดเจน
กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับเนื้อหาของการพิจารณา
และรูปแบบการจัดทำรายงานผลการพิจารณา
เป็นต้น |