Go www.kriengsak.com

ประวัติ

ครอบครัว

งานวิชาการ

กิจกรรม

Press

Contact us

ค้นหา

 

ขอคิดอย่างสร้างสรรค์

 

โครงการอัปยศ…หากทำเมกะโปรเจกต์แบบผิดๆ(2)
Mega-Project –Projects of Shame(II)

 

2  มิถุนายน 2549

เรียนมิตรสหายที่เคารพรัก 

               ที่ผ่านมา ผมได้เขียนเกี่ยวกับการประมูลอัปยศของเมกะโปรเจกต์ไทย ซึ่งรูปแบบการประมูลได้สร้างความไม่น่าเชื่อถือและอาจเกิดความเสียหายในอนาคต อย่างไรก็ตามความอัปยศของเมกะโปรเจกต์ไม่ได้มีเฉพาะในส่วนของรูปแบบการประมูลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงส่วนอื่น ๆ ที่ผมจะขอกล่าวต่อไป

แสดงความไม่รอบคอบ เพราะรัฐบาล ‘พูดก่อนคิด’ ไม่ได้ศึกษาอย่างรอบคอบก่อนประกาศนโยบาย โครงการส่วนใหญ่จึงขาดความชัดเจน การเชิญชาวต่างประเทศให้ยื่นประมูลเข้ามาจึงเป็นเรื่องน่าขายหน้า เพราะนักลงทุนไม่เข้าใจว่ารัฐบาลต้องการอะไร รัฐบาลยังเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงการกลับไปกลับมา เห็นได้ชัดจากจำนวนเส้นทางรถไฟฟ้าที่เปลี่ยนจาก 7 สาย เป็น 5 สาย แล้วเพิ่มเป็น 10 สาย ซึ่งทำให้เกิดความไม่เชื่อถือต่อรัฐบาลและนโยบายของรัฐบาล

แสดงความไร้มารยาท การอนุมัติโครงการเมกะโปรเจกต์ ในขณะที่ยังเป็นรัฐบาลรักษาการแสดงความไม่มีมารยาท เพราะรัฐบาลรักษาการไม่ควรดำเนินโครงการที่สร้างภาระผูกพัน และปัจจุบันยังไม่มีกลไกการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภายังเป็นชุดรักษาการ ส่วน ปปช. ยังไม่มีคณะกรรมการและอยู่ในกระบวนการสรรหา การที่รัฐบาลฉวยโอกาสอนุมัติโครงการเมกะโปรเจกต์ในเวลานี้ จึงเป็นความพยายามหาเสียง และอาจถูกมองว่า มีแรงจูงใจเพื่อหาแหล่งทุนสำหรับการเลือกตั้ง

แสดงความประมาท งานวิจัยที่ศึกษาจากเมกะโปรเจกต์ทั่วโลก พบว่า โครงการส่วนใหญ่ประเมินต้นทุนต่ำกว่าความเป็นจริงร้อยละ 50-100 ประมาณการรายได้สูงกว่าความเป็นจริงร้อยละ 20-70 แต่การดำเนินโครงการเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลไม่กระจายความเสี่ยง แต่กลับกระจุกความเสี่ยง โดยเร่งลงทุนพร้อม ๆ กันหลายโครงการ และเปิดประมูลเป็นล็อตใหญ ๆ ทั้งนี้หากเกิดปัญหาต้นทุนบานปลายหรือรายได้ไม่เข้าเป้า อาจจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อฐานะการคลังของรัฐบาล เพราะรัฐบาลจะต้องหางบประมาณจำนวนมากเพื่อเพิ่มเติมให้สามารถปิดโครงการได้ หรือเพื่ออุดหนุนโครงการไม่ให้ขาดทุน

แสดงความไม่สมจริง รัฐบาลบอกว่าจะควบคุมให้สัดส่วนการนำเข้าไม่เกินร้อยละ 30 ซึ่งเป็นไปได้ยาก เพราะโครงการส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ขณะที่การลงทุนในประเทศไทยมีสัดส่วนนำเข้าเฉลี่ยร้อยละ 40 นอกจากนี้รัฐยังยืนยันว่า หากขาดดุลฯเกินร้อยละ 2 ของจีดีพี จะชะลอหรือเลื่อนโครงการที่สำคัญน้อยออกไปและควบคุมสัดส่วนการนำเข้า ทำให้ผมเกิดข้อสงสัยว่า หากมีการลงนามในสัญญากับผู้รับเหมาไปแล้ว การชะลอหรือเลื่อนโครงการออกไป หรือควบคุมการนำเข้าจะเป็นไปได้อย่างไร

แสดงความหมกเม็ด รัฐบาลหมกเม็ดหนี้และภาระผูกพันที่เกิดจากโครงการเมกะโปรเจกต์ โดยการซ่อนไม่ให้ปรากฏในบัญชีหนี้
สาธารณะหรือไม่บอกข้อมูลอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะการระดมทุนโดยการใช้
SPV ซึ่งจะเกิดภาระผูกพันระยะยาว แต่จะไม่ปรากฏในบัญชีหนี้สาธารณะ และการที่รัฐบาลประกาศจะเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้า 15 บาทตลอดสาย เป็นการซ่อนภาระผูกพันต่องบประมาณในอนาคต เพราะรัฐบาลจะต้องหางบประมาณจำนวนมากมาอุดหนุนโครงการนี้

ด้วยเหตุนี้ ความอัปยศของโครงการเมกะโปรเจกต์ จึงไม่ได้เกิดจากหลักการหรือเนื้อหาของตัวโครงการ แต่เป็นเพราะวิธีการดำเนินโครงการที่อัปยศ ซึ่งเกิดจาก “รัฐบาลอัปยศ

 

 

 

 



-------------------------------