ในงานเสวนา
โครงการอัปยศ
เมกะโปรเจกต์
จัดโดยสถาบันสหสวรรษ
เมื่อวันที่
30
พฤษภาคม
ที่ผ่านมา
ผมในฐานะวิทยากรได้แสดงความคิดเห็นต่อคำถามที่ว่า
โครงการเมกะโปรเจกต์เป็นโครงการอัปยศอย่างไร
จากการศึกษาและติดตามมาโดยตลอด
ทั้งในฐานะนักวิชาการและนักการเมือง
ผมพบว่า
แม้หลายโครงการมีหลักการที่ดีและเป็นที่ปรารถนาของประชาชน
แต่วิธีการดำเนินโครงการเหล่านี้ของรัฐบาลได้แสดงความอัปยศหลายประการ
โดยเฉพาะรูปแบบการประมูล
อาทิ
แสดงความเป็นทาส
การประมูลโครงการเมกะโปรเจกต์โดยไม่มีเงื่อนไขใด
ๆ
แต่เปิดกว้างให้นักลงทุนเสนอโครงการได้โดยไม่มีข้อจำกัด
แม้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดจากทั่วโลก
แต่วิธีการเช่นนี้สะท้อนถึงหัวใจของความเป็นทาส
และแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลกำลังดูถูกความสามารถของคนไทย
อีกทั้งยังปิดกั้นโอกาสที่คนไทยจะได้เรียนรู้องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่
ๆ
เพราะเป็นการซื้อเทคโนโลยีสำเร็จรูปจากต่างประเทศ
โดยที่คนไทยไม่ได้เรียนรู้ผ่านการคิดวิเคราะห์
และประยุกต์ให้เหมาะสมกับประเทศไทย
ในความเป็นจริง
วิธีการแบบนี้อาจจะไม่ทำให้ได้ของที่เหมาะสมที่สุด
เพราะชาวต่างชาติอาจไม่รู้จักประเทศไทย
และไม่รู้ความต้องการของคนไทย
ซึ่งอาจทำให้ได้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
แต่ไม่เหมาะสมกับประเทศไทย
ทั้งนี้เพราะการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง
ๆ
ไม่ได้มีเฉพาะสิ่งปลูกสร้างด้านกายภาพเท่านั้น
แต่ต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการ
บุคลากร
และวัฒนธรรมของคนไทยด้วย
ผมจึงเห็นว่าการกำหนดรูปแบบของโครงการต่าง
ๆ
นั้นควรให้คนไทยเป็นหลัก
และเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีได้จากที่ปรึกษาหรือการดูงานต่างประเทศ
แสดงความเป็นเผด็จการ
การตัดสินใจของรัฐบาลในโครงการเมกะโปรเจ็กต์เกือบทั้งหมดเป็นแบบรวมศูนย์
ข้าราชการถูกทำให้ไร้ศักดิ์ศรี
โดยการบีบให้ต้องเร่งจัดทำร่างโครงการตามธงที่รัฐบาลกำหนดไว้
การไม่ให้ความเชื่อถือต่อหน่วยราชการโดยการให้ต่างชาติเปลี่ยนแปลงโครงการได้
และการลดบทบาทของสภาพัฒน์ลง
เพราะหลายโครงการถูกเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีโดยไม่ส่งให้สภาพัฒน์พิจารณากลั่นกรองเสียก่อน
รัฐบาลยังแทรกแซงการพิจารณาโครงการเมกะโปรเจกต์
โดยการที่นายกรัฐมนตรีไปนั่งเป็นประธานคณะกรรมการระดับชาติที่พิจารณาการประมูล
ตลอดจนไม่มีกระบวนการรับฟังความเห็นและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ดังกรณีของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่มีการ
ประท้วงจากประชาชนว่า
รัฐบิดเบือนข้อมูลที่ให้กับประชาชน
และไม่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้แสดงความเห็นอย่างเพียงพอ
แสดงความไม่โปร่งใส
เพราะการใช้วิธีเปิดประมูลโดยไม่มีทีโออาร์ที่เฉพาะเจาะจง
แต่เปิดโอกาสให้ผู้ยื่นประมูลเสนอโครงการอย่างไรก็ได้
แม้ภาครัฐจะกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณา
แต่เป็นหลักเกณฑ์ที่ยืดหยุ่นมาก
ทำให้การพิจารณาผู้ชนะการประมูลขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการเป็นสำคัญ
ซึ่งทูตต่างประเทศที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยด้วย
ต่างไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้
เพราะไม่มั่นใจว่าจะโปร่งใส
และไม่มีนอกมีใน
ประการสำคัญ
การให้นายกฯ
เป็นประธานในคณะกรรมการที่ทำหน้าที่พิจารณาการประมูล
ทำให้เกิดความไม่เชื่อว่าการประมูลจะโปร่งใส
เพราะสังคมยังเคลือบแคลงต่อความสุจริตของนายกฯ
ที่ยังไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนต่าง
ๆ ได้
แสดงความเชย
รัฐบาลประกาศนโยบายโมเดิร์นไนซ์ประเทศไทย
เพื่อพัฒนาประเทศให้ทันสมัย
แต่กลับใช้วิธีการที่โบราณ
โดยเสนอเงื่อนไขทางการเงินว่า
หากผู้เสนอโครงการยินดีรับค่าตอบแทนเป็นสินค้าหรือระบบบาร์เตอร์เทรดจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
เป็นการเปิดเผยแนวความคิดที่ล้าหลัง
ไม่ทันสมัย
เพราะ
เป็นระบบโบราณที่ใช้ในยุคที่ยังไม่มีเงินตราเป็นระบบที่มีความยุ่งยาก
ซับซ้อน
ขาดความยืดหยุ่น
เป็นระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพ
เพราะรัฐบาลไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่จะนำไปทำบาร์เตอร์เทรด
รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อสินค้าเกษตรจากเอกชนเพื่อนำไปแลกเปลี่ยน
ทำให้มีต้นทุนการดำเนินการมากกว่าการซื้อขายด้วยเงิน
ดังนั้นการเสนอระบบบาร์เตอร์เทรดไม่น่าจะเป็นข้อเสนอที่ดีที่สุด
เพราะการทำบาร์เตอร์เทรดมักจะทำระหว่างรัฐต่อรัฐ
แต่บริษัทเอกชนที่ต้องการเข้ามาลงทุนไม่ได้ต้องการสินค้าเกษตร
ประเทศที่ให้ข้อเสนอโครงการที่ดีที่สุด
อาจไม่ต้องการสินค้าเกษตรของไทย
ทำให้เหลือตัวเลือกเหลือน้อยลง
ผมเห็นว่ารัฐบาลควรทบทวนรูปแบบการประมูลเสียใหม่
โดยยึดหลักความโปร่งใส
ความรอบคอบ
และให้ทุกฝ่ายมีส่วนในการตรวจสอบการตัดสินใจของรัฐบาลมากขึ้น
เพื่อโครงการเมกะโปรเจต์จะก่อประโยชน์ให้กับประชาชนและสังคมอย่างแท้จริง