Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา


ดร.เกรียงศักดิ์ชี้ กยท.ไม่ควรทำธุรกิจแข่งกับเอกชน
..................................................


ดร.เกรียงศักดิ์ ตั้งข้อสังเกตร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....เป็นแนวคิดที่ดี แต่การทำธุรกิจไม่ควรเป็นหน้าที่ของ กยท.เพราะไม่ใช่ธุรกิจที่เอกชนทำไม่ได้ ไม่ใช่ธุรกิจที่ภาครัฐทำได้ดี ไม่ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร กรรมการบริหารพรรค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ร่าง พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....ว่าเป็นแนวคิดที่ดีที่บูรณาการการทำงานของหน่วยงานสำคัญด้านยางพาราของประเทศเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ร่าง พ...ฉบับนี้ให้ กยท.ทำธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา ซึ่งน่าจะโอนจากองค์การสวนยางแห่งประเทศไทย เช่น ประกอบการค้าและธุรกิจเกี่ยวกับผลิตผล ผลิตภัณฑ์และวัตถุพลอยได้ที่เกิดจากการทำสวนยางพาราเป็นสำคัญ เป็นต้น ผมเห็นว่าการทำธุรกิจเกี่ยวกับยางพาราไม่ควรเป็นหน้าที่ของ กยท. เนื่องจาก

ไม่ใช่ธุรกิจที่เอกชนทำไม่ได้ พิจารณาหลักการทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับบทบาทของรัฐในระบบเศรษฐกิจ รัฐจะเข้าไปดำเนินการในกิจการที่เอกชนไม่สามารถทำได้หรือไม่ควรทำ เนื่องจากเป็นสินค้าสาธารณะ และสาธารณูปโภคพื้นฐาน หรือสินค้าที่มีผลต่อความมั่นคงของประเทศ หรือเป็นธุรกิจที่ต้องใช้การลงทุนสูงมาก หรือเป็นสินค้าที่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสูงมาก หรือตลาดของสินค้าประเภทนั้นมีปัญหาความล้มเหลวของตลาด แต่ธุรกิจยางพาราไม่ใช่ธุรกิจที่เอกชนทำไม่ได้หรือไม่ควรทำ เพราะยางพาราไม่ได้มีคุณสมบัติเป็นสินค้าสาธารณะ ไม่ได้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานหรือเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และไม่ได้เป็นสินค้าที่อ่อนไหวต่อความมั่นคงของประเทศ  รวมทั้งเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมากจนเกินศักยภาพของภาคเอกชนที่จะลงทุนดำเนินการเองได้ มีภาคเอกชนดำเนินธุรกิจยางพาราอยู่เป็นจำนวนมากถึง 524 โรงงานทั่วประเทศ และผลผลิตยางพาราของประเทศส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชน ในขณะที่องค์การสวนยางแห่งประเทศไทยมีผลผลิตน้ำยางเพียง 5,250 ตัน คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของปริมาณการผลิตทั้งหมดเท่านั้น

นอกจากนี้ ตลาดยางพาราเป็นตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อรัฐบาลจีนอนุญาตให้ภาคเอกชนของจีนซื้อขายยางพาราได้ ยิ่งทำให้มีจำนวนผู้ซื้อผู้ขายมากขึ้น แต่หากรัฐบาลต้องการให้ กยท
.ทำธุรกิจเพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางที่ยากจน โดยไม่หวังผลกำไรมากนัก ผมคิดว่าไม่ควรเขียนกฎหมายให้ กยท.ทำธุรกิจได้กว้างมากเกินไปเพราะเปิดช่องให้ กยท.แข่งกับเอกชนซึ่งเป็นผลเสียต่ออุตสาหกรรมยางพาราโดยรวม

ไม่ใช่ธุรกิจที่ภาครัฐทำได้ดี
ผลการประกอบการขององค์การสวนยางมีปัญหาขาดทุนอย่างยาวนาน โดยปี 2543 ขาดทุน 15.109 ล้านบาท ปี 2544 (เม..-..) ขาดทุน 12.313 ล้านบาท ก่อนที่จะมีกำไรในช่วงปี 2545-2547 โดยมีผลกำไรประมาณ 20-30 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสาเหตุที่มีกำไรไม่ได้เกิดจากประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แต่เป็นเพราะการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศจีน และรัฐบาลจีนให้เอกชนรับซื้อยางพาราได้อย่างเสรี ทำให้เกิดความคล่องตัวในการซื้อขายยางพารามากขึ้น ด้วยเหตุที่หน่วยงานภาครัฐมักมีประสิทธิภาพด้อยกว่าเอกชน ผมจึงเห็นว่า กยท.ควรนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้พัฒนาคุณภาพยาง ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาธุรกิจยางพาราของเอกชนมากกว่า ที่จะทำธุรกิจแข่งกับเอกชน

ถึงแม้ว่า กยท
.ยกเลิกการประกอบธุรกิจยางพารา อาจส่งผลให้บุคลากรขององค์กรสวนยาง รวมถึงทรัพย์สินที่เคยใช้ทำธุรกิจไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ แต่ผมเห็นว่า ในส่วนของพนักงานและลูกจ้างประจำ 399 คน สามารถโอนย้ายมาทำงานกับ กยท.เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับเกษตรกรได้ หรือหากพนักงานต้องการจะประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา กยท.อาจประมูลขายทรัพย์สินให้กับพนักงานหรือภาคเอกชนในราคาที่เหมาะสม

ไม่ทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม
ร่าง พ...ฉบับนี้ให้อำนาจ กยท.ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา ซึ่งอาจทำให้ กยท.สามารถใช้อำนาจและสิทธิพิเศษที่ได้รับในฐานะที่เป็นหน่วยงานรัฐ ทำให้ได้เปรียบภาคเอกชน เช่น มาตรา 23 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลทั่วไป คณะกรรมการฯ จึงอาจกำหนดนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของ กยท. หรือกำหนดกติกาการแข่งขันที่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของ กยท. และใช้ข้อมูลขององค์กรเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจ และอาจได้เปรียบจากการที่มีแหล่งทุนขนาดใหญ่ คือเงินงบประมาณแผ่นดิน เนื่องจากมาตรา 39 ระบุให้ไม่ต้องนำส่งเงินและทรัพย์สินให้กระทรวงการคลัง มาตรา 56 ระบุให้รายได้ที่ กยท.ได้รับจากการดำเนินงานให้ตกเป็นของ กยท. สำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินกิจการ ตลอดจนค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามที่คณะกรรมการกำหนด และถ้ารายได้ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่าย รัฐพึงจ่ายเงินให้แก่ กยท.เท่าจำนวนที่ขาด ซึ่งหมายความว่า กยท. สามารถนำเงินภาษีของประชาชนมาลงทุนทำธุรกิจแข่งกับภาคเอกชนได้ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ หาก กยท. ได้รับการสนับสนุนจนกลายเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีอำนาจผูกขาดตลาด และเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นได้ ไม่เท่ากับว่า รัฐบาลนำเงินภาษีของประชาชนมาพัฒนา กยท. เพื่อขายให้เอกชนชุบมือเปิบไปหรือ?

การจัดตั้ง กยท
.อาจช่วยแก้ไขปัญหาการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราที่ผ่านมา ซึ่งขาดการบูรณาการร่วมกัน แต่การที่ร่าง พ... การยางแห่งประเทศไทย ซึ่งกำหนดขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของ กยท.ไว้มากเกินไป ทำให้ กทย. แทนที่จะเป็นองค์กรของรัฐที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจของเอกชน แต่กลับจะทำให้ภาคเอกชนอ่อนแอลง เพราะกลายเป็นคู่แข่งที่มีความได้เปรียบอันเกิดจากกติกาที่ไม่เป็นธรรม

 ..................................................