บสท.แก้หนี้เน่าเหมือน
“หมอไร้จรรยาบรรณ”
..................................................
ส.ส.ปชป
ชี้การจัดตั้ง บสท.ที่ผ่านมายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์
ล่าช้า
ไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมและรัฐบาลเป็นเหมือน
“หมอไร้จรรยาบรรณ” เพราะ
เลือกช่วยลูกหนี้รายใหญ่
ที่มีหลักประกันมากก่อน
นายเกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์
กรรมการบริหารพรรคและ ส.ส.
พรรคประชาธิปัตย์
ในฐานะรองประธานกรรมาธิการเศรษฐกิจ
สภาผู้แทนราษฎร
กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(NPL)
ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)
ในช่วงที่ผ่านมาว่ายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้
ในการที่จะจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพด้วยความเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ
เพราะ
จากการพิจารณาผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา
พบว่ามีการเลือกปฏิบัติ
โดยเฉพาะการเลือกที่จะช่วยลูกหนี้รายใหญ่และลูกหนี้ที่มีหลักประกัน
สามารถขายทำกำไรได้มากก่อนลูกหนี้รายย่อย
เปรียบเหมือน“หมอไร้จรรยาบรรณ”
รักษาคนไข้ที่มีเงินก่อน
“สังเกตได้จากการบริหารสินทรัพย์ที่ได้ข้อสรุปยุติส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายใหญ่
คิดเป็นลูกหนี้เพียงร้อยละ 28.59
แต่มีมูลค่าทางบัญชีสูงถึง ร้อยละ
93.79 ของมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด
เฉลี่ย 149.88 ล้านบาทต่อราย
ขณะที่สินทรัพย์ของลูกหนี้ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปเป็นลูกหนี้รายย่อย
ถึงร้อยละ 71.41
แต่มีมูลค่าทางบัญชีเพียง ร้อยละ
6.21 หรือเฉลี่ยเพียง 3.98
ล้านบาทต่อรายเท่านั้น
ส่วนภาคธุรกิจที่ บสท.
ให้ความสำคัญ ได้แก่
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มี
NPL ร้อยละ 7.49 แต่ได้ข้อยุติใน
บสท.ถึงร้อยละ 29.45
ของมูลค่าทรัพย์สินที่เจรจาจนได้ข้อยุติทั้งหมด
ในขณะที่ภาคการเกษตรมี NPL ร้อยละ
3.22 แต่ได้ข้อยุติฯเพียงร้อยละ
0.56 จึงน่าสงสัยว่า เพราะเหตุใด
บสท.จึงช่วยลูกหนี้ภาคเกษตรน้อยมากทั้งที่ภาคเกษตรมีการจ้างงานถึงร้อยละ
42.5 ของการจ้างงานรวม
แต่ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มีการจ้างงานเพียงร้อยละ
1.6 “
นายเกรียงศักดิ์
กล่าวต่อไปว่า การดำเนินงานของ
บสท.ที่ผ่านมายังขาดประสิทธิภาพ
สามารถเคลื่อนย้าย NPL
ออกจากสถาบันการเงินตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้น้อยมาก
และให้ผลตอบแทนต่อส่วนรวมน้อย
เพราะ หนี้ที่โอนมา บสท.มีมูลค่าเพียงร้อยละ
30 ของ NPL ทั้งระบบ
ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับบริษัทบริหารสินทรัพย์
(AMC) ต่างประเทศ เช่น IBRA อินโดฯ
ร้อยละ 90.4 KAMCO เกาหลี ร้อยละ
85 Danaharta มาเลเซีย ร้อยละ
91.6 ประกอบกับสินทรัพย์ที่โอนมา
บสท.ส่วนใหญ่เป็น NPL
ของสถาบันการเงินรัฐร้อยละ 81.03
NPL
ของสถาบันการเงินเอกชนเพียงร้อยละ
18.97 ซึ่งเป็น เพราะ บสท.กำหนดราคารับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพต่ำเกินไป
ไม่จูงใจสถาบันการเงินเอกชนให้ยอมขายสินทรัพย์ให้แก่
บสท.
“นอกจากนี้ถ้าพิจารณาผลตอบแทนจากการดำเนินการของบสท.
ในปี 2546 พบว่า
อัตราการได้รับชำระคืนทั้งในรูปเงินสดและที่ไม่ใช่เงินสด
(Total recovery rate)
เทียบกับมูลค่าทางบัญชีของสินทรัพย์ที่บริหารจนได้ข้อยุติของบสท.ต่ำมาก
เมื่อเทียบกับ AMC ของต่างประเทศ
เช่น Danaharta มาเลเซีย
อยู่ที่ร้อยละ 58.41 KAMCO
เกาหลีใต้ ร้อยละ 47.81 ขณะที่บสท.อยู่ที่ร้อยละ
36.59 และหากเทียบกับ AMC
ในประเทศ พบว่า บสท.มีอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์เพียง
ร้อยละ 0.01
ขณะที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
(บบส.) ร้อยละ18.95
และบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์
จำกัด (บสก.) ร้อยละ 2.86”
ส.ส.ปชป.เสนอว่าเพื่อ
แก้ไข NPL อีกเกือบ 6
แสนล้านบาทที่เหลืออยู่ในระบบสถาบันการเงิน
บสท.ควรกำหนดหลักเกณฑ์
และจำแนกลูกหนี้ตามขนาด
ตามประเภทธุรกิจ
เพื่อจัดลำดับความสำคัญว่าควรช่วยลูกหนี้ประเภทใดก่อน
นอกจากนี้ยังควรปรับวิธีการกำหนดราคารับโอน
NPL โดยกำหนดราคาที่เป็นธรรม
(fair value)
ร่วมกับราคาตามมูลค่าหลักทรัพย์
เพื่อจูงใจให้สถาบันการเงินเอกชน
ขาย NPL ให้ บสท. มากขึ้น
ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการทำงานของ
บสท. เพื่อให้ปัญหา NPL
ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริงและไม่ถูกเลี้ยงไข้ไว้เช่นนี้
..................................................
|