ฝ่ายสร้างสรรค์ชี้ทางพัฒนามหาวิทยาลัยไทย
..................................................
ส.ส.ปชป.ไม่มั่นใจอนาคตคุณภาพมหาวิทยาลัยไทย
แนะแนวทางพัฒนาคุณภาพ
เสนอจัดอันดับมหาวิทยาลัยติดดาว
ให้เงินเดือนอาจารย์ต่างกันตามความสามารถ
แนะจัดสรรงบแยกรายคณะ
เพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยไทยทั้งระบบ
จากการประชุมรัฐสภาฯ
สมัยสามัญทั่วไป ครั้งที่ 6
เมื่อวันพุธที่ 28 เมษายน
ได้มีวาระพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ที่รัฐสภามีมติเห็นชอบให้พิจารณาต่อ
จำนวน 22 ฉบับ โดยมีร่างพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยรวม
11 ฉบับ นายเกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์
กรรมการบริหารพรรค และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
ได้แสดงความคิดเห็นว่า สาระในร่าง
พ.ร.บ.มหาวิทยาลัย
ยังไม่ได้นำไปสู่มหาวิทยาลัยที่พึงจะเป็นในอนาคต
โดยเฉพาะในเรื่องคุณภาพ
เมื่ออ่านแล้วยังไม่เกิดความมั่นใจอนาคตมันสมองของชาติ
เสนอว่าการร่างกฎหมายควรคิดนอกกรอบ
โดยมุ่งประเด็นคุณภาพมหาวิทยาลัยเป็นสำคัญ
นายเกรียงศักดิ์
กล่าวว่า
เราควรมีวิธีการที่จะบอกว่า
มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งของไทยคุณภาพอยู่ตรงไหน
วัดกันได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
และต้องมีระบบที่ให้เกิดการแข่งขัน
เพื่อทุกมหาวิทยาลัยจะพัฒนาตนเองสู่ระดับที่สูงขึ้นเรื่อย
ๆ และขอเสนอแนวทางสร้างสรรค์
ได้แก่ ควรมีการจัดอันดับ “มหาวิทยาลัยติดดาว”
โดยมีมาตรฐานที่ชัดเจนชี้วัดมาตรฐานของมหาวิทยาลัย
มีการระดมความคิดเพื่อกำหนดเกณฑ์ที่ยอมรับได้ในระดับสากล
ที่วัดได้ในเชิงปริมาณ
อาจกำหนดให้เป็นดาว 1-5 ดาว
หรือจัดอันดับ (ranking)
การจัดอันดับจะช่วยให้มหาวิทยาลัยรู้ตัวว่าถูกจับตามอง
ช่วยให้ผู้บริหาร สภามหาวิทยาลัย
สภาวิชาการเกิดแรงจูงใจพยายามยกระดับตนเองให้อยู่ในอันดับที่สูงขึ้น
ก่อให้เกิดการแข่งขันการพัฒนาด้านคุณภาพมากขึ้น
นอกจากวิธีการดังกล่าวแล้ว
ส.ส.ปชป.เสนอว่า
ควรพัฒนาคุณภาพมหาวิทยาลัยด้วยวิธีอื่น
ๆ อาทิ
การให้เงินเดือนอาจารย์แต่ละคนไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับผลงาน
โดยมีเกณฑ์มาตรฐาน
เพื่อให้เราสามารถได้คนที่ดีที่สุด
เก่งที่สุดมาเป็นอาจารย์ และ
ทุกมหาวิทยาลัยควรพัฒนาตามจุดเด่นหรือความแกร่งของตนเอง
ทุกสาขาวิชาและคณะที่มีอยู่ควรส่งเสริมความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของมหาวิทยาลัยนั้น
และควรทำให้มีบางสาขาวิชาที่เราแกร่งมากจนคนทั้งโลกต้องมาเรียนที่เมืองไทย
อย่างไรก็ตาม
มหาวิทยาลัยจะพัฒนาได้
จำเป็นต้องมีเงินทุนประเดิมจากรัฐบาล
เพื่อให้มหาวิทยาลัยพัฒนาตนเองได้อย่างสมศักดิ์ศรี
และเสนอว่าควรจัดงบประมาณลงตามคณะ
โดยคณบดีคณะต่าง ๆ
ควรรวมตัวกันเป็นสภาคณบดีคณะนั้น
และแบ่งงบประมาณโดยมีเกณฑ์ที่ถูกต้อง
แนวทางนี้จะเป็นประโยชน์กว่าการจัดงบตามรายมหาวิทยาลัย
ซึ่งมิได้บอกว่าเราผลิตคนตรงตามความต้องการหรือไม่
“เราคงต้องหาวิธีการใหม่
ๆ อีกมากในการพัฒนามหาวิทยาลัย
หากรัฐมนตรีนำไปปฏิบัติ
เชื่อว่าจะเป็นคุณูปการต่อประเทศชาติ
ผมและพรรคประชาธิปัตย์อยู่ฝ่ายสร้างสรรค์
เรามิได้วิจารณ์รัฐบาลแบบโคมลอย
แต่เราเสนอทางออกที่มีประโยชน์ให้
ถ้ารัฐบาลจะเพียงพิจารณาร่าง
พ.ร.บ.เหล่านี้เพียงรายมาตรา
แต่อยากให้พิจารณาว่า
เนื้อหาทุกฉบับ เมื่ออ่านแล้ว
เรามั่นใจหรือไม่ว่าประเทศชาติจะมีมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพสมดังความต้องการของเรา”
ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์กล่าวในตอนท้าย
..................................................
|