ตัดนายกฯจากการรักษาการ
พ.ร.บ.งบเพิ่มเติม เหตุไม่โปร่งใส
..................................................
เกรียงศักดิ์แปรญัตติ
พ.ร.บ.งบเพิ่มประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
ปี 2548
ขอตัดนายกฯออกจากการรักษาการตามพ.ร.บ.นี้
เพราะให้อำนาจนายกฯมากเกินไป
อำนาจซ้ำซ้อน ไม่โปร่งใส
และไม่รอบคอบ รวมทั้งขอตัดงบฯ 3
รายการออกทั้งหมด
เพราะไม่จำเป็นเร่งด่วน
ไม่สอดคล้องสถานการณ์น้ำมันแพงและขาดดุลฯ
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สมัยสามัญทั่วไป เมื่อวันพุธที่ 4
พฤษภาคม
ได้มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548
นายเกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์
กรรมการบริหารพรรค และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
ได้ขอแปรญัตติโดยแก้ไขความในมาตรา
6
ซึ่งระบุให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการร่วมกัน
โดยแก้เป็น ให้รมว.
คลังเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวเพียงผู้เดียว
การที่นายกฯเป็นผู้รักษาการตามพ.ร.บ.นี้เป็นการไม่เหมาะสม
เนื่องจากจะทำให้นายกฯ
มีอำนาจในการใช้งบประมาณ
โดยไม่ต้องผ่าน มติ ครม.
ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความโปร่งใสและความรอบคอบในการใช้งบประมาณของรัฐบาล
“การให้อำนาจนายกรัฐมนตรีรักษาการตาม
พ.ร.บ.นี้
เป็นการก้าวก่ายหน้าที่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ในเรื่องของการสั่งจ่ายงบประมาณ
ทำให้เกิดการใช้อำนาจซ้ำซ้อน
นายกฯมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการใช้งบประมาณ
และไม่มีการบันทึกการอนุมัติการใช้เงินงบประมาณในมติคณะรัฐมนตรี
อาจทำให้นายกฯ
สามารถตัดสินใจได้โดยลำพัง
ก่อให้เกิดความไม่รอบคอบในการตัดสินใจใช้งบประมาณ
เพราะขาดข้อมูล ความเห็น
ข้อเสนอแนะ
ซึ่งหากการตัดสินใจในการใช้งบประมาณผิดพลาด
ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศในภาพรวม”
สส.ประชาธิปัตย์กล่าว
นอกจากนี้
นายเกรียงศักดิ์ยังได้ขอแปรญัตติในมาตรา
4 โดยขอตัดงบประมาณ 3
รายการออกทั้งหมด
ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านหรือชุมชน
(SML)
และค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชน
นายเกรียงศักดิ์
ได้ให้เหตุผลในการตัดงบฯทั้ง 3
รายการออกทั้งหมดว่า
เป็นการใช้งบประมาณไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของหลักการจัดทำงบรายจ่ายเพิ่มเติม
โดยทั้ง 3
รายการเป็นโครงการที่เริ่มมานานแล้ว
สามารถกำหนดแผนการดำเนินและการใช้งบประมาณล่วงหน้าได้
ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการของการจัดทำงบเพิ่มเติม
ที่ควรเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาจำเป็นเร่งด่วน
หรือกรณีฉุกเฉิน
“งบดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ซึ่งมีประเด็นที่จำเป็นและเร่งด่วนมากกว่า
โดยเฉพาะราคาน้ำมันแพง
ซึ่งทำให้หนี้กองทุนน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย
ๆ
และปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ซึ่งเริ่มปรากฏขึ้นแล้วในไตรมาสแรกของปีนี้
รัฐบาลควรจัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง
และใช้งบประมาณสำหรับสิ่งที่จำเป็นจริง
ๆ แต่งบประมาณรายจ่ายทั้ง 3
รายการ
ไม่ได้เป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนดังกล่าว”
ส.ส. ประชาธิปัตย์กล่าว
..................................................
|