Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา


ข้อบกพร่องของ ก.ม.อภิมหาอำนาจ
..................................................



เกรียงศักดิ์ชี้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินของไทย บกพร่องหลายจุด เมื่อเทียบกับของต่างประเทศ ทั้งด้านความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินที่กว้างขวาง ไม่ระบุเงื่อนไขการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีซึ่งอาจนำไปสู่การใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขต รวมถึงการริดรอนอำนาจระบบตรวจสอบ ทำให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ


ดร
.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ กรรมการบริหาร และ ส..บัญชีรายชื่อพรรค ปชป. เสนอในประเด็นการพิจารณา พ... การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ว่า พ...
ฉบับนี้มีข้อบกพร่องหลายประเด็น เมื่อเปรียบเทียบกับสหราชอาณาจักร ติมอร์ตะวันออก และสหรัฐอเมริกา

“ผมให้สมญานามกับ พ.ร.ก.นี้ว่าเป็นกฎหมายอภิมหาอำนาจ เห็นได้จากการกำหนดความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินที่กว้างเกินไป และไม่มีการระบุเงื่อนไขในการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจทำให้มีการใช้อำนาจรุนแรงกว่าสถานการณ์ที่มีอยู่จริง นำไปสู่การใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขต เมื่อเทียบกับกฎหมายของสหราชอาณาจักร ที่ความหมายของ “สถานการณ์ฉุกเฉิน” มีความละเอียดและชัดเจนมากกว่า และแต่ละเงื่อนไขการใช้อำนาจมีคำนิยามที่ชัดเจน นอกจากนี้ หากเทียบกับพ.ร.ก. กับ ก.ม. ความมั่นคง (internal security law) ของติมอร์ตะวันออก ก็มีการกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจอย่างรัดกุม    ”

ผู้ใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.นี้ยังไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลของการใช้อำนาจ จากการพิจารณา พ.ร.ก. ฉบับนี้อย่างละเอียด ผมไม่พบระบบการตรวจสอบ ถ่วงดุลการใช้อำนาจตามระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ทั้งการตรวจสอบจากฝ่ายตุลาการและนิติบัญญัติ ผลของการไม่มีการตรวจสอบการใช้อำนาจ ย่อมทำให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ เพราะไม่ต้องรับผิดชอบต่อการใช้อำนาจกับใคร

การประกาศเป็น พ.ร.ก.แสดงท่าทีของรัฐบาลที่จงใจหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ โดยฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ที่จังหวัดยะลา ประกาศใช้ พ... หลังจากนั้น 1 วัน ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลน่าจะมีเวลามากพอในการออกเป็น พ.ร.บ. ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาอย่างรอบคอบ หากเทียบกับการออกกฎหมายภาวะฉุกเฉินของต่างประเทศ ทั้งสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ที่มีความรุนแรงของสถานการณ์มากกว่าของไทย ล้วนออกกฎหมายเป็นพระราชบัญญัติ คือ พ... สถานการณ์ฉุกเฉิน (Civil Contingency Bill) ของสหราชอาณาจักร และ พ... ผู้รักชาติ (Patriot Act
) ของอเมริกา โดยเฉพาะสหราชอาณาจักรออก พ.ร.บ.ล่วงหน้าตั้งแต่ปี 2546 ก่อนที่จะเกิดเหตุระเบิดที่ลอนดอน  แต่ของไทยนี้รู้มาเป็นปีแล้ว น่าจะทำตั้งนานแล้ว ไม่ใช่มารีบเร่งออกในเวลานี้” ส..บัญชีรายชื่อกล่าวทิ้งท้าย

 ..................................................