Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา


เรียลลิตี้โชว์แก้จน สอนคนให้เห็นเงินเป็นพระเจ้า
..................................................

 
เกรียงศักดิ์ สรุปแนวทางแก้จนผ่านสอนทางไกล ทำให้การแก้จนยิ่งยากขึ้น เพราะสอนคนให้เห็นเงินเป็นพระเจ้า สอนให้ประชาชนแบมือขอ และข้าราชการให้คิดว่าเงินแก้ปัญหาทุกอย่างได้

ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงผล การเก็บตัวเลขกิจกรรมการแก้ปัญหาความยากจนของนายกรัฐมนตรี ผ่านรายการเรียลลิตี้ โชว์ ตลอดระยะเวลา 5 วัน ซึ่งนายกฯอ้างว่าเป็นการสอนการแก้ปัญหาความยากจนทางไกล แต่แท้ที่จริงเป็นการสอนให้คนเห็นเงินเป็นพระเจ้า

“ประการแรก เน้นการสอนประชาชนให้แบมือขอ นายกฯสอนให้ประชาชนต้องพึ่งรัฐ มากกว่าพึ่งตนเอง จากการเก็บสถิติในรายการเรียลลิตี้โชว์ตลอด 5 วัน พบว่า นายกได้ให้คำปรึกษาชาวบ้านและตัวแทนชาวบ้าน ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการทั้งหมด 93 คน สามารถรวบรวมกิจกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนที่นายกฯ แนะนำได้ทั้งหมด 11 หมวด 217 กิจกรรม แต่กิจกรรมที่นายกฯทำเพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองของประชาชนและชุมชน อาทิ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แนะนำอาชีพ มีเพียง 36% ของกิจกรรมทั้งหมด ส่วนกิจกรรมที่นายกฯให้ประชาชนพึ่งพารัฐ อาทิ การพักหนี้ การพึ่งพาโครงการรัฐบาล มีถึง 61.7%”

“ทั้ง ๆ ที่หลักการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน ควรช่วยเขาเพื่อให้ช่วยตนเองได้ เหมือนคำที่ว่า "จับปลาให้กิน 1 ตัว คนจะอิ่มได้เพียง 1 วัน แต่สอนให้จับปลาได้ เขาจะอิ่มตลอดชีวิต” แต่ตลอดการลงพื้นที่ของนายกฯ เน้นการแจกเพื่อให้ประชาชนที่ได้รับรู้สึกพึงพอใจเป็นหลัก ไม่มีมิติของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสะท้อนปัญหา ผู้ที่มารายงานปัญหาของชาวบ้านคือนายอำเภอ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า นายกฯ ไม่ได้ตั้งใจลงไปแก้ปัญหาความยากจนจริง เป็นเพียงรูปแบบการหาเสียงแบบใหม่ในยามขาลง เพราะการฟังปัญหาผ่านนายอำเภอ ไม่จำเป็นต้องลงไปถึงอาจสามารถ สามารถเรียกข้าราชการกลุ่มนี้มาที่ส่วนกลางได้”

“ประการที่สอง สอนข้าราชการให้ใช้เงินแก้ปัญหาทุกอย่าง จากการเก็บสถิติโดยนับกิจกรรมที่นายกฯทำตลอดทั้ง 5 วัน สังเกตว่าวิธีการของนายกฯ กว่าครึ่งหนึ่งเป็นการ "แจกเงิน แจกของ" อาทิ ให้เอกสารสิทธิที่ดิน แจกโค ให้เงินกู้ ฯลฯ โดยคิดเป็น 40% ของกิจกรรมทั้งหมด ในขณะที่การ “แจกปัญญา” หรือกิจกรรมเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์หรือความรู้ความสามารถของชาวบ้าน อาทิ ให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม มีเพียง 20.3% เท่านั้น”

“ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่า การแก้ปัญหาความยากจนของนายกฯเป็นไปอย่างฉาบฉวย ใช้เงินในการแก้ปัญหา ต้องการเพียงให้เห็นผลเร็ว หรือให้ประชาชนเห็นว่าเมื่อนายกฯ ลงไป ชาวบ้านจะมีทีที่ดิน มีเงินใช้ แต่อย่าลืมว่าวิธีการดังกล่าวแม้จะเห็นผลเร็วแต่ก็ไม่ยั่งยืน ในทางกลับกันการพัฒนาทุนมนุษย์ให้ชาวบ้านนั้น จะเป็นการแก้ปัญหาความยากจนที่ยั่งยืนมากกว่า แต่ต้องใช้เวลานาน ฉะนั้น หากจะนำเรียลลิตี้โชว์นี้ไปเป็นแบบอย่างแก่ข้าราชการจริง อาจทำให้ข้าราชการทั้งประเทศทำตามอย่างแบบอย่างที่ผิดของนายกฯ”

“สุดท้าย ผมตั้งข้อสังเกตว่า แม้จังหวัดร้อยเอ็ดมีสัดส่วนคนจนด้านรายได้ถึง 8% ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหา แต่ยังไม่ใช่พื้นที่ที่ยากจนที่สุด แต่เหตุผลที่นายกฯเลือกพื้นที่นี้เพราะเป็นพื้นที่ของไทยรักไทย ซึ่งเป็นการยืนยันคำพูดของนายกฯ ที่ว่า "จะดูแลพื้นที่ที่เลือกไทยรักไทยก่อน" คำถามคือ นายกฯ จะลงไปแก้ความยากจนในพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งมีปัญหาความยากจนที่รุนแรงกว่านี้หรือไม่ เช่น ปัตตานีที่มีสัดส่วนคนจนด้านรายได้ถึง 23% และนราธิวาสที่มีคนยากจนถึง 18%” ส.ส. ปชป. สรุป

 

สรุป กิจกรรมเรียลลิตี้โชว์แก้จน สอนคนให้เห็นเงินเป็นพระเจ้า
 

รหัส

หมวด

วิธีแก้

ความถี่(กิจกรรม)

สัดส่วน (%)

สัดส่วน
คิดตามหมวด
(%)

การสนับสนุนให้พึ่งพารัฐบาล

1.         

แจกเงินแจกของ                

ให้ปัจจัยการผลิต (ไม่รวมเงินทุน) เช่น เอกสารสิทธิที่ดิน เครื่องจักร โค

33

15.2

40

 

ให้เงินกู้ / พักหนี้ / ปรับโครงสร้างหนี้

17

7.8

ให้สิ่งของ / ที่อยู่ / การรักษาโรค

27

12.4

ให้เบี้ยยังชีพ

10

4.6

2.         

ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

สร้างสาธารณูปโภค

13

6.0

6.0

3.         

ปรับปรุงนโยบาย

แก้ไขนโยบาย

5

2.3

2.3

4.         

ให้ข้อมูลแก่ประชาชน

เช่น แนะนำให้เข้าโครงการที่รัฐดำเนินการอยู่แล้ว

3

1.4

1.4

5.         

มอบหมายให้หน่วยงานราชการดูแล

มอบหมายให้หน่วยงานราชการดูแลต่อ (ไม่ระบุวิธี)

26

12.0

12.0

รวม

131

61.7

61.7

การสนับสนุนให้พึ่งพาตนเอง

6.         

แจกปัญญา

ให้ทุนการศึกษา

11

5.1

20.3

 

ฝึกอาชีพ/ฝึกอบรม

21

9.7

แนะนำความรู้/เทคโนโลยี (เช่น เกษตรใช้น้ำน้อย)

12

5.5

7.         

แนะนำอาชีพ

แนะนำอาชีพ

26

12.0

12.0

8.         

ศึกษาวิจัยต่อ

ทำการศึกษา/วิจัยเพิ่มเติม

2

0.9

0.9

9.         

แก้ปัญหาชุมชน

ศก. พอเพียง /ปัญหาครอบครัว / ช่วยเหลือในชุมชน

5

2.3

2.3

10.      

แก้ไขลักษณะชีวิต

แก้ลักษณะชีวิต เช่น เลิกเหล้า

1

0.5

0.5

รวม

52

36

36

อื่น ๆ

11.

ระบุไม่ได้

ระบุไม่ได้

2

0.9

2.3

 

รับเรื่องไว้

3

1.4

รวม

217

100.0

100.0

 ..................................................