เกรียงศักดิ์ แจง 3 เสี่ยง แปรรูป
กฟผ. เสี่ยงผูกขาด
เสี่ยงค่าไฟไม่เป็นธรรม
และเสี่ยงฮุบหุ้น รวมทั้งเสนอ 4
ข้อ
ตั้งกรรมการกำกับที่เป็นอิสระจริง
ๆ
กำหนดกติกาการใช้ประโยชน์จากเขื่อนและสายส่งอย่างเป็นธรรม
เลิกเงื่อนไข กฟผ.ผูกขาด
และสร้างข้อจำกัดการใช้ nominee
ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ
และประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
สภาผู้แทนราษฎร
ในฐานะประธานการอภิปรายในการสัมมนา
เรื่อง “แปรรูป กฟผ.อย่างไร
ประชาชนได้ประโยชน์?”
ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ต.ค.
2548 ณ อาคารรัฐสภา 2
ได้กล่าวถึงความเสี่ยง 3
ประการของการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
“ความเสี่ยงจากการผูกขาด
เพราะแนวทางการแปรรูป กฟผ.ของรัฐบาล
ไม่ทำให้เกิดการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า
แต่เป็นเพียงการย้ายจากการผูกขาดโดยรัฐ
เป็นการผูกขาดโดย กฟผ.ที่มีพฤติกรรมแสวงหากำไรสูงสุดมากขึ้น
ทั้งนี้เพราะรัฐบาลให้สิทธิ กฟผ.เช่าเขื่อนและอ่างเก็บน้ำจากกระทรวงการคลังในราคาถูก
โดยมีข้อมูลว่า กฟผ.เช่าเขื่อน 13
แห่งเป็นเวลา 30 ปี ๆ ละ 130
ล้านบาทเท่านั้น
แต่รายได้จากไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังน้ำสูงถึง
15,970.5 ล้านบาทต่อปี
อีกทั้งยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับกติกาการใช้ประโยชน์จากสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
ซึ่งเป็นธุรกิจที่ผูกขาดโดยธรรมชาติ
ทำให้มีความเสี่ยงจะถูกใช้ทำกำไรอย่างมหาศาลเช่นเดียวกับกรณีที่
ปตท.ผูกขาดท่อก๊าซ นอกจากนี้ กฟผ.ยังได้สิทธิผลิตไฟฟ้า
75%
ของความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่ที่เกิดขึ้น
จึงไม่ทำให้เกิดการแข่งขัน
และไม่ทำให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพ”
“ความเสี่ยงจากการกำหนดค่าไฟฟ้าที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน
เนื่องจากคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
(Ft) 15 คน
มีตัวแทนจากผู้ใช้ไฟฟ้าเพียง 3 คน
ทำให้ไม่สามารถคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ใช้ไฟฟ้าได้
สังเกตได้จากการปรับสูตรค่าไฟฟ้าที่ผ่านมา
เป็นการกลไกการคืนกำไรส่วนเกินให้กับประชาชนออกไป
ทำให้ค่าไฟฟ้าตามสูตรใหม่จะสูงกว่าค่าไฟฟ้าตามสูตรเดิม
1.4 สตางค์ทุก ๆ 4 เดือน
ทำให้รายได้ของ กฟผ.ตลอด 3
ปีที่ใช้สูตร Ft ใหม่
จะมากกว่ารายได้ที่เก็บตามสูตรเดิม
32,783 ล้านบาท
ส่วนคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าที่ตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกฯ
มีที่มาจากคัดเลือกโดยกรรมการสรรหาที่แต่งตั้งโดย
รมว.พลังงาน
และเสนอชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้นายกฯ
แต่งตั้ง
กระบวนสรรหาเช่นนี้จึงไม่มีทางจะได้คนที่เป็นอิสระ
ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง”
“ความเสี่ยงจากการกระจายหุ้นไม่โปร่งใสและไม่เป็นธรรม
ถึงแม้รัฐบาลจะกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจที่รัดกุมขึ้น
โดยให้มีการกระจายหุ้นแบบขั้นบันได
ให้โอกาสกับผู้จองซื้อหุ้นจำนวนน้อยก่อน
และไม่ให้บุคคลใดถือหุ้นเกินกว่า
5% ของทุนจดทะเบียน
แต่วิธีการนี้ยังมีช่องโหว่
เพราะการใช้เทคโนโลยีในการสุ่มเลือกจะยิ่งตรวจสอบยาก
ประกอบกับเพดานการถือหุ้นไม่เกินกว่า
5%
ของทุนจดทะเบียนเป็นตัวเลขที่สูงมาก
หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1
หมื่นล้านบาท”
“ผมมีข้อเสนอ 4 ประการ หนึ่ง
ชะลอการกระจายหุ้น กฟผ.ออกไปก่อน
แล้วเร่งตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับกิจการไฟฟ้าที่เป็นอิสระและสมดุล
และให้คณะกรรมการฯ อิสระ
เป็นผู้กำหนดกติกาการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าขึ้นใหม่
ส่วนคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับ
Ft
ต้องมีสัดส่วนของผู้บริโภคที่สมดุล
กับตัวแทนฝ่ายอื่น ๆ”
“สอง แยกกิจการผูกขาด
ออกจากกิจการที่มีการแข่งขัน
โดยกำหนดกติกาการใช้ประโยชน์จากเขื่อน
และระบบสายส่งอย่างเป็นธรรม
กำหนดค่าเช่าที่เหมาะสมกับรายได้จากเขื่อน
หรือให้แข่งขันประมูลกันเข้ามาขอเช่าบริหารจัดการเขื่อน
ตลอดจนกำหนดค่าใช้บริการสายส่งไฟฟ้าเท่าเทียมกัน
และควบคุมค่าใช้บริการสายส่งไฟฟ้า
รวมทั้งกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์จากเขื่อนและสายส่ง
ไม่ควรอนุญาตให้เอกชนรายใดรายหนึ่งเพียงรายเดียว
เข้ามาผูกขาดใช้ประโยชน์จากระบบสายส่ง
โดยเฉพาะการติดตั้งใยแก้วนำแสง
บนโครงข่ายของระบบสายส่ง
เพราะจะทำให้เกิดการผูกขาดในกิจการโทรคมนาคม”
“สาม ยกเลิกเงื่อนไขให้ กฟผ.ได้สิทธิการผลิตไฟฟ้า
75% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าใหม่
แต่ควรเปิดให้มีการแข่งขันอย่างเท่าเทียมกัน
เพื่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต
และในอนาคต อาจจะแยก กฟผ.
ออกเป็นหลายบริษัท
เพื่อไม่ให้มีอำนาจเหนือตลาด”
“สุดท้าย
สร้างข้อจำกัดในการใช้ตัวแทนซื้อหุ้น
เช่น ใช้เทคโนโลยีการสุ่มเลือก
ที่สามารถตรวจสอบความโปร่งใสได้ง่าย
กำหนดเพดานการถือหุ้นไม่เกิน 0.5%
ของทุนจดทะเบียน
เพื่อให้การใช้ตัวแทนเข้าซื้อหุ้น
มีความยากลำบากมากขึ้น
และเปิดเผยรายชื่อผู้จอง
และผู้ที่ได้รับหุ้น”
..................................................
|