Go www.kriengsak.com ประวัติ ครอบครัว งานวิชาการ กิจกรรม Press Contact us ค้นหา


ความคลุมเครือของมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
..................................................



 

เกรียงศักดิ์ตั้งกระทู้สดถามรัฐบาล มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน ที่พบว่ายังมีความคลุมเครือใน 4 ประเด็น คือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับทรัพย์สินด้อยคุณภาพ เงื่อนไขในการปรับโครงสร้างหนี้ ประสิทธิผลในการแก้ไขหนี้ด้อยคุณภาพ และประสิทธิผลในการเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ประชาชน

ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนฯ คณะกรรมการบริหาร รองประธานคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคฯ และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์  แถลงว่า “จากมติ ครม.ที่รับทราบมาตรการการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เมื่อวันที่ 18 .. 2548 เพื่อช่วยลูกหนี้รายย่อยในสถาบันการเงิน ประมาณ 1 แสนราย เงินต้นรวมกันประมาณ 7 พันล้านบาท มาตรการปรับโครงสร้างหนี้เป็นการริเริ่มจากรัฐบาลผมเห็นว่ายังมีความคลุมเครือหลายประการ วันนี้จึงได้ตั้งกระทู้สดถามรัฐบาลในข้อสงสัย 4 ประเด็น”

“ประเด็นแรกคือ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ กระทรวงการคลังได้กำหนดว่าสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เข้าเกณฑ์ ต้องเป็นสินทรัพย์ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ณ 30 มิ.. 2548 เป็นลูกหนี้ถูกฟ้องดำเนินคดีก่อนวันที่ 1 .. 2548 โดยรัฐมนตรีให้เหตุผลว่าต้องการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ความไม่สมเหตุสมผล คือ ลูกหนี้ที่เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ ณ 30 มิ.. 2548 ไม่ใช่ลูกหนี้ที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจทั้งหมด และทำไมลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (ที่ไม่ได้เกิดจากวิกฤต) ที่ถูกฟ้องดำเนินคดีก่อน 1 .. 2548 จึงได้รับความช่วยเหลือ แต่ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องร้องหลังจากนั้นกลับไม่ได้รับความช่วยเหลือ

ประเด็นที่สอง เงื่อนไขในการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งกำหนดให้ลูกหนี้ชำระหนี้ร้อยละ 50 ของเงินต้นแก่เจ้าหนี้เพียงครั้งเดียว ระหว่าง 1 .. ถึง 30 มิ.. 2549 โดยจะได้รับยกเว้นภาระหนี้เงินต้นที่เหลือ และดอกเบี้ยค้างรับทั้งจำนวน และลูกหนี้อาจขอสินเชื่อเพิ่มจากธนาคารออมสิน ซึ่งจะให้สินเชื่อร้อยละ 50 ของมูลค่าเงินต้นคงค้าง และให้ผ่อนชำระคืนเป็นเวลา 3 ปี การที่ธนาคารออมสินให้สินเชื่อกับลูกหนี้เหล่านี้เป็นเหมือนการเข้าไปซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินในราคาร้อยละ 50 ของมูลค่าทางบัญชี ซึ่งสูงกว่าราคาสินทรัพย์ที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) รับโอนมาที่ร้อยละ 30-35 อีกทั้งข้อมูลลูกหนี้ที่เข้าหลักเกณฑ์ไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมา จึงยังมีความคลุมเครืออยู่ว่าตัวเลขร้อยละ 50 เป็นราคารับซื้อหนี้ที่ยุติธรรมหรือไม่

ประเด็นที่สาม ประสิทธิผลในการแก้ไขหนี้ด้อยคุณภาพ การที่รัฐบาลยืนยันว่ามาตรการดังกล่าวเป็นลักษณะการขอความร่วมมือ ซึ่งสถาบันการเงินยินดีลดเงินต้นให้ร้อยละ 50 และธนาคารออมสินจะให้กู้หรือไม่ก็ได้ โดยพิจารณาความเสี่ยงอย่างเหมาะสม คำถามคือ ทำไมสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้จึงไม่ดำเนินการเจรจากับลูกหนี้ไปเองไม่จำเป็นต้องให้ธนาคารออมสินปล่อยกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ หากลูกหนี้กลุ่มนี้จะขอเจรจากับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ของตนเอง เพื่อลดเงินต้นร้อยละ 50 และยืดระยะเวลาการผ่อนชำระออกไป 3 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนเช่นเดียวกับธนาคารออมสิน เจ้าหนี้จะยินดีเจรจาหรือไม่ ผมเชื่อว่าคำตอบที่จะได้รับคือ “ไม่ยินดี” ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความเสี่ยงของลูกหนี้กลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะการให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน เป็นดอกเบี้ยที่ไม่สอดคล้องกับความเสี่ยงของลูกหนี้กลุ่มนี้

ประเด็นที่สี่ ประสิทธิผลในการเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน ความไม่ชัดเจนของเหตุผลเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังที่ได้กล่าวข้างต้น ทำให้เกิดคำถามว่า ลูกหนี้ด้อยคุณภาพที่เกิดจากผลกระทบของวิกฤตในปี 2540 และลูกหนี้กลุ่มที่เดือดร้อนที่สุดจะได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการนี้หรือไม่ มีความเป็นไปได้สูงที่ลูกหนี้ที่เกิดจากวิกฤตปี 2540 จะไม่ได้รับการช่วยเหลือมากนัก แต่ลูกหนี้ที่ไม่ควรได้รับความช่วยเหลือกลับจะได้รับ เพราะลูกหนี้ด้อยคุณภาพตั้งแต่วิกฤตปี 2540 สินทรัพย์ที่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันย่อมเสื่อมมูลค่าลง ส่วนลูกหนี้ที่มีความเดือดร้อนมาก อาจจะเป็นลูกหนี้ที่มีรายได้ไม่พอชำระหนี้ หรือมีรายได้ไม่แน่นอน ทำให้ไม่ผ่านการพิจารณาให้ได้รับเงินกู้จากธนาคารออมสิน ส่วนลูกหนี้ที่ตั้งใจไม่ชำระหนี้มักจะเป็นผู้ที่สามารถชำระหนี้ได้จึงมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะได้รับเงินกู้จากธนาคารออมสินหรือแหล่งเงินกู้อื่น ๆ และแม้ว่าลูกหนี้ที่ไม่ได้รับเงินกู้จากธนาคารออมสิน จะสามารถขอกู้จากแหล่งเงินทุนอื่น ๆ ปัญหาที่ตามมาคือลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูง เพราะลูกหนี้ที่เคยถูกฟ้องดำเนินคดี ย่อมไม่ได้รับเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ

“แม้ว่ามาตรการนี้อาจช่วยลูกหนี้ได้บางส่วน และลดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงินลงได้บ้าง แต่คงไม่สามารถคาดหวังประสิทธิผลในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนได้มากนัก แต่สิ่งที่คาดหวังได้อย่างแน่นอน คือคะแนนนิยมทางการเมืองอันเนื่องจากการประชาสัมพันธ์มาตรการนี้ โดยที่ลูกหนี้ส่วนใหญ่ยังต้องรับภาระแก้ปัญหาหนี้ของตัวเองต่อไป” ส.ส.ปชป. กล่าว

 ..................................................