ดร.เกรียงศักดิ์
เผยพฤติกรรมรัฐกรณีพิพาทกับไอทีวีส่อแววเลือกปฏิบัติ
มีผลประโยชน์ทับซ้อน
ยอมให้ประชาชนได้รับประโยชน์
เมื่อตนเองไม่ได้มีผลประโยชน์ในกิจการนั้น
ๆ
ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(สปน.)
ร้องต่อศาลปกครองในกรณีสัมปทานไอทีวี
ศาลปกครอง (9 พฤษภาคม 2549)
ได้มีคำสั่งเพิกถอนคำตัดสินอนุญาโตตุลาการเมื่อวันที่
30 มกราคม 2547 กรณีให้ บริษัท
ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
จ่ายค่าสัมปทานปีละ 230 ล้านบาท
จากที่ต้องจ่ายปีละ 1,000 ล้านบาท
รวมทั้งเพิกถอนคำตัดสินที่ให้ไอทีวีปรับลดสัดส่วนนำเสนอรายการข่าวสารสาระต่อรายการบันเทิง
จากเดิม 70:30 เป็น 50:50
หากพิจารณาถึงความเป็นมาของข้อพิพาทระหว่างรัฐกับไอทีวีแล้ว
คำตัดสินของศาลปกครองที่มีผลให้เกิดการทวงคืนผลประโยชน์ของประชาชนจากเอกชนในครั้งนี้
จึงเป็นที่มาของข้อสังเกตว่า
แท้จริงแล้วรัฐบาลชุดนี้มีความจริงใจต่อการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนมากน้อยเพียงใด
ทั้งที่ท่าทีของรัฐบาลภายหลังจากที่มีคำตัดสินจากอนุญาโตตุลาการให้
สปน. แพ้ไอทีวีเมื่อปี 2547
ซึ่งอยู่ในช่วงปลายเทอมของรัฐบาลทักษิณ
1
ไม่ได้เร่งรีบในการเรียกร้องสิทธิและผลประโยชน์กลับคืนมาสู่รัฐ
แม้จะมีกระแสกดดันจากมวลชนเร่งให้รัฐดำเนินการกับความเสียหายในครั้งนี้
โดยเห็นได้จากพฤติกรรมในขณะนั้นคือ
การเลือกปฏิบัติ
สังเกตได้จากผู้นำรัฐบาลมีท่าทีไม่แข็งกร้าวต่อความเสียหายของรัฐที่เกิดจากกรณีไอทีวี
ซึ่งแตกต่างจากกรณีค่าโง่ทางด่วน
6,200 ล้านบาท ที่นายกฯ
แสดงท่าทีขึงขังในการปกป้องผลประโยชน์ให้กับรัฐ
โดยพยายามระดมทีมกฎหมายหาช่องยื่นอุทธรณ์เพื่อที่จะไม่จ่ายค่าโง่ดังกล่าวภายในเวลาไม่ถึง
1 เดือน ขณะที่ สปน.ใช้เวลาถึง 3
เดือนกว่าจะยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตฯ
ทั้งที่ประกาศว่าจะยื่นคำร้องภายใน
1 เดือน ยิ่งไปกว่านั้น
ยังมีคำถามว่า การที่ สปน.ฟ้องไอทีวีนั้นทำเพื่อลดกระแสความไม่พอใจของสังคมซึ่งอาจจะมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ถึงความนิยมในรัฐบาลไทยรักไทย
หรือมีความตั้งใจจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ
การเจรจาต่อรองที่ส่อแววว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน
ไม่เพียงแต่การฟ้องร้องดำเนินไปอย่างล่าช้า
แต่รัฐบาลยังมีความพยายามในการเปิดช่องให้ไอทีวีละเมิดสัญญา
โดยขยายช่วงเวลาไพรม์ไทม์
จากเดิมที่ตกลงไว้ว่าจะอยู่ในช่วงเวลา
19.00 - 21.30 น. เปลี่ยนเป็น
18.00 - 23.00 น.
รวมทั้งปรับผังรายการจากเดิมที่ช่วงไพรม์ไทม์จะต้องเป็นรายการข่าวเท่านั้น
เปลี่ยนเป็น
ให้มีรายการบันเทิงรวมอยู่ในช่วงนี้ด้วย
โดยอ้างมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 4
พฤศจิกายน 2546
ที่กำหนดให้ออกอากาศรายการเยาวชนเด็กและครอบครัวในช่วงไพรม์ไทม์เวลา
18.00-23.00 น.
มาสร้างความชอบธรรมให้กับการปรับผังของไอทีวี
พฤติกรรมในขณะนั้นจึงมีความน่าเคลือบแคลงสงสัย
เป็นเสมือนละครฉากใหญ่ที่หลอกลวงประชาชน
ไม่ผิดกับคำวิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้านี้ที่มีเสียงครหาถึงการสมรู้ร่วมคิดแบบแยบยล
บ่งชี้ถึงความน่าสงสัยว่าอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
เพราะกิจการไอทีวีในขณะนั้นคือ
หนึ่งในเครือของชินคอร์ปซึ่งยังเป็นของตระกูลชินวัตร
วันนี้คำตัดสินของศาลปกครองที่ให้สำนักนายกฯ
เป็นผู้มีชัย
อาจไม่ใช่การสิ้นสุดของกรณีพิพาท
แต่เป็นการแสดงให้เห็นธาตุแท้ของรัฐบาลที่ยอมให้ประชาชนได้รับประโยชน์
เมื่อตนเองไม่ได้มีผลประโยชน์ในกิจการนั้น
ๆ แล้ว ด้วยเหตุนี้
ผมจึงขอตั้งคำถามให้ทุกท่านช่วยกับขบคิดว่า
หากขณะนี้
ไอทีวียังคงเป็นกิจการของคนในรัฐบาลแล้ว
ละครเรื่องนี้จะดำเนินไปเช่นไร
อาจจะมีใครที่เล่นบทบาทเป็น
มือที่มองไม่เห็น
แทรกแซงการทำงาน
เพื่อประโยชน์ของตนเองที่มักจะมาก่อนผลประโยชน์ของประชาชนหรือไม่
ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าวสรุป
|