เกรียงศักดิ์ ชี้
รัฐบาลไม่มีแผนแก้หนี้กองทุนน้ำมัน
..................................................
นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
รองประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ
สภาผู้แทนราษฎร กรรมการบริหาร และ
ส.ส.บัญชีรายชื่อ
พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า
รัฐบาลไม่ได้แสดงความชัดเจนเกี่ยวกับเหตุผลของการลดภาษีสรรพสามิต
ซึ่งเป็นการนำภาษีของประชาชนมาใช้เพื่ออุดหนุนราคาน้ำมัน
ทั้งที่ก่อนหน้านี้
รัฐบาลปฏิเสธที่จะนำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
5
หมื่นล้านบาทมาชำระหนี้กองทุนน้ำมัน
รวมทั้งยังขาดแนวทางที่ชัดเจนในการปลดภาระหนี้กองทุนน้ำมัน
“ในรายการวิทยุวันนี้
ท่านนายกฯไม่ได้ตอบคำถามของผมที่ได้ถามผ่านสื่อไปว่า
ทำไมจึงไม่ทยอยลอยตัวราคาน้ำมันมาตั้งแต่ต้นปี
และเหตุใดจึงไม่หาทางลดภาระหนี้ของกองทุนน้ำมันเมื่อมีรายได้ที่รัฐจัดเก็บได้เกินกว่าเป้าหมาย
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า
รัฐบาลมีความผิดพลาดในการคาดการณ์ภาวะราคาน้ำมัน
และไม่ได้มีแผนการลอยตัวราคาน้ำมันอย่างจริงจัง
แต่มาตรการที่ประกาศใช้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
เกิดจากการที่กองทุนน้ำมันเข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว
ไม่สามารถอุดหนุนต่อไปได้
จึงต้องดึงรายได้จากภาษีมาช่วยอุดหนุนราคาน้ำมันต่อไปอีก”
“นายกฯสามารถให้รายละเอียดได้ว่า
ใครได้ตำแหน่งนางงามจักรวาลและรองนางงาม
แต่กลับไม่มีรายละเอียดของแผนในการแก้ปัญหาหนี้กองทุนน้ำมันอย่างเบ็ดเสร็จ
ไม่มีความชัดเจนว่า
รัฐบาลจะชำระหนี้ด้วยวิธีการใด
แต่ละวิธีเป็นเงินเท่าไร
และเมื่อใดจะชำระหนี้ได้หมด
มาตรการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
จึงเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
และเตะโด่งปัญหาออกไปข้างหน้าเท่านั้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นหากรวมภาระหนี้ของกองทุนทั้งหมด
เมื่อรวมภาระการอุดหนุนดีเซลจนถึงสิ้นปีนี้อีกประมาณ
1.2 หมื่นล้านบาท
และดอกเบี้ยพันธบัตร 5 ปีอีก 1.55
หมื่นล้านบาท
ยอดหนี้กองทุนน้ำมันที่ต้องชำระทั้งสิ้นจะสูงถึง
1.085 แสนล้านบาท”
“ปัญหาหนี้กองทุนน้ำมันเป็นปัญหาที่วิกฤตแล้ว
รัฐบาลควรรีบเร่งทำความเข้าใจกับประชาชน
เพื่อส่งสัญญาณให้ประชาชนทราบและร่วมกันรับภาระ
ผมขอเสนอให้รัฐบาลเร่งลอยตัวราคาน้ำมันให้เร็วที่สุดภายใน
3 เดือน
เนื่องจากหากเลยไปจากช่วงนี้จะเข้าสู่ฤดูหนาวซึ่งราคาเชื้อเพลิงจะสูงขึ้นอีกครั้ง
การลอยตัวยังเป็นการลดภาระหนี้ของกองทุน
และช่วยแก้ปัญหาการขาดดุลที่เกิดจากการนำเข้าน้ำมัน”
“สำหรับหนี้กองทุนน้ำมันที่สูงมากแล้ว
รัฐควรนำรายได้จากภาษีสรรพสามิต
1.4 หมื่นล้านบาท
ที่รัฐบาลจะลดภาษีให้ผู้ใช้น้ำมันโดยคาดว่าจะยังเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย
และเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นประมาณ
1.7 หมื่นล้านบาท
ที่มีอยู่ในงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ของกองทุนน้ำมัน
ซึ่งรัฐบาลอาจจะขึ้นภาษีน้ำมันเบนซินเพื่อชดเชยรายได้แทน
และควรวางแผนให้กองทุนน้ำมันนำรายได้มาชดใช้คืนคลังในอนาคตด้วย”
“ส่วนผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
รัฐบาลควรกำหนดมาตรการลดภาษีนิติบุคคล
เพื่อลดต้นทุนของผู้ผลิตสินค้าบางกลุ่ม
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตอาหาร
หรือสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าที่จำเป็นของประชาชน
ซึ่งนับเป็นแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่ตรงจุดมากกว่า
และทำให้ราคาน้ำมันสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดดุล
และลดภาระหนี้กองทุนน้ำมันอีกด้วย”
.................................................. |