ดร.เกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์
รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจ
พรรคประชาธิปัตย์
ตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสม
ความซ้ำซ้อน และความโปร่งใส
ของการจ้างออกแบบควบคู่ไปกับการก่อสร้างในโครงการรถไฟฟ้า
3
สาย
รอง ปธ.คณะทำงาน ศก.
ปชป.
ตั้งข้อสังเกตถึงความเหมาะสมของการจ้างออกแบบควบคู่ไปกับการก่อสร้าง
ซึ่งเหมาะสมกับโครงการที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วแต่ใช้เวลาก่อสร้างที่ยาวนาน
เพราะวิธีการนี้จะมีความยืดหยุ่นและจะทำให้ได้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
อย่างไรก็ตาม
มีเพียงระบบรถไฟฟ้าเท่านั้นที่เทคโนโลยีน่าจะเปลี่ยนแปลงเร็ว
แต่งานด้านโยธาและโครงสร้างนั้นเทคโนโลยีไม่เปลี่ยนแปลงเร็วมากนัก
ความเห็นของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เสนอว่า
ควรแยกงานโยธาออกจากงานระบบรถไฟฟ้า
จึงเป็นข้อเสนอที่มีเหตุผล
ผมเห็นว่า
รัฐบาลควรออกแบบอย่างชัดเจนสำหรับงานโยธาและโครงสร้าง
และเปิดให้มีความยืดหยุ่นได้ในงานระบบรถไฟฟ้า
แต่ในร่างเอกสารประกวดราคาโครงรถไฟฟ้าทั้ง
3
สาย กลับเปิดกว้างมากเกินไป
โดยได้ให้ผู้ยื่นประมูลเสนอได้แม้กระทั่งเส้นทางใหม่
ซึ่งเป็นรายละเอียดที่รัฐบาลควรจะมีความชัดเจนแล้ว
ดร.เกรียงศักดิ์
ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความซ้ำซ้อนของการดำเนินงาน
เนื่องจากในรัฐบาลทักษิณ
1
ได้อนุมัติดำเนินการออกแบบรายละเอียด
และก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงบางใหญ่
-
ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่
บางซื่อ
โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
(รฟม.)
ได้ใช้งบไปแล้วประมาณ
3
ร้อยล้านบาท
ในการจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดความเหมาะสม
ออกแบบรายละเอียด
และจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการฯ
คำถามคือ
ในเมื่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้มีการออกแบบในรายละเอียดและจัดทำเอกสารประกวดราคาโครงการฯ
ไปแล้ว
เหตุใดรัฐบาลจึงใช้วิธีการจ้างออกแบบควบคู่ไปกับการก่อสร้างในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงอีก
การเลือกรูปแบบการดำเนินการดังกล่าวเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน
และทำให้เกิดการสิ้นเปลืองงบประมาณหรือไม่
อดีต ส.ส. ปชป.
ยังตั้งข้อสังเกตถึงความโปร่งใสของโครงการ
เพราะเอกสารการประมูลกำหนดขอบเขตงานที่กว้างขวางมาก
โดยเปิดกว้างให้ผู้ที่ยื่นประมูลสามารถเสนอเงื่อนไขในการออกแบบและก่อสร้างได้อย่างยืดหยุ่นมาก
ประกอบกับการพิจารณาคัดเลือกผู้ประมูลโดยที่ยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน
แต่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้น
ทำให้เกิดความไม่มั่นใจว่า
การประมูลโครงการนี้จะโปร่งใสหรือไม่
ข้อเสียสำคัญของวิธีการจ้างแบบนี้
คือผู้ว่าจ้างมีความสามารถในการควบคุมการออกแบบและควบคุมคุณภาพลดลง
และความจำกัดในการมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งแต่กระบวนการออกแบบ
ยิ่งไปกว่านั้น
การที่รัฐบาลที่มีข้อกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างหนาหู
เป็นผู้ดำเนินการในช่วงที่ยังไม่มีรัฐสภาเข้ามาตรวจสอบ
ทำให้เกิดความเสี่ยงว่า
การก่อสร้างโครงการนี้จะมีคุณภาพหรือไม่
และจะมีการเอื้อประโยชน์ต่อผู้รับเหมาหรือไม่
แม้วิธีการนี้มีหลักการที่ดี
แต่การนำมาใช้
ต้องดูความเหมาะสมเป็นรายโครงการ
และต้องตั้งคำถามกับตนเองว่า
สถานะของรัฐบาลในเวลานี้เหมาะที่จะเป็นผู้ดำเนินโครงการนี้
ด้วยวิธีการนี้หรือไม่
ดร.เกรียงศักดิ์
กล่าว