ดร.เกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์
กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
กล่าวปาฐกถาเปิดสัมมนาภูมิภาคของสหภาพรัฐสภา
ระบุ
ต้องเปลี่ยนแนวคิดความมั่นคงแบบดั้งเดิมไปสู่ความมั่นคงของมนุษย์
และร่วมมือระหว่างประเทศแก้ปัญหาความมั่นคง
รวมทั้งเสนอจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศดูแลความมั่นคงของมนุษย์
และดัชนีวัดความมั่นคงของมนุษย์
เมื่อวันที่
1
ก.ย.
2549
ที่โรงแรมเลอเมอริเดียนบีชรีสอร์ต
จ.ภูเก็ต
ดร.เกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์
ในฐานะตัวแทนสมาชิกรัฐสภาไทย
กล่าวปาฐกถาเปิดการสัมมนาระดับภูมิภาคของสหภาพรัฐสภา
(Inter-Parliament
Union)
ว่าด้วย
การปฏิรูปหน่วยงานด้านความมั่นคงในระดับชาติและระดับภูมิภาค
ซึ่งรัฐสภาไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับสหภาพรัฐสภา
และศูนย์เพื่อประชาธิปไตยของกองทัพประจำกรุงเจนีวา
โดยมีตัวแทนสมาชิกรัฐสภาจากประเทศต่าง
ๆ
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วมสัมมนา
ดร.เกรียงศักดิ์
กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ
แนวคิดใหม่และความจำเป็นสำหรับวิถีความมั่นคงแบบครอบคลุม
โดยระบุถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงนิยามและขอบเขตของความมั่นคงเสียใหม่
เพราะสภาวะสังคมในปัจจุบันถูกขับเคลื่อนโดยกระแสโลกาภิวัตน์
ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลกไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่หรือระเบียบโลกใหม่
ความท้าทายและปัญหาความมั่นคงมีความเชื่อมโยงระหว่างประเทศมากขึ้น
การมองเพียงความมั่นคงระดับประเทศไม่เพียงพออีกต่อไป
แต่ต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหา
แนวความคิดเกี่ยวกับความมั่นคงจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
โดยเริ่มจากการให้คำจำกัดความของความมั่นคงเสียใหม่
โดยมองในมิติที่ลึกซึ้ง
กว้างขวางและกว้างไกลขึ้น
และเคลื่อนย้ายจุดเน้นจากความมั่นคงที่ให้รัฐเป็นศูนย์กลางไปสู่
ความมั่นคงที่ให้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง
(Human Security)
ตัวแทนสมาชิกรัฐสภาไทยยังได้นำเสนอแนวคิดใหม่
โดยเสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศเพื่อดูแลในเรื่องความมั่นคงของมนุษย์โดยเฉพาะ
คล้ายกับ
WTO
ที่ดูแลการค้าโลก
โดยองค์กรนี้จะทำหน้าที่จัดวาระให้เกิดความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์
การให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทางวิชาการ
การตรวจสอบปัญหาความมั่นคงของมนุษย์
และการแก้ไขกรณีพิพาทระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับความมั่นคงของมนุษย์
ผมขอเสนอให้มีการสร้างตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์
ซึ่งเป็นชุดของดัชนีที่วัดทุกมิติและทุกองค์ประกอบในสังคมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของมนุษย์
โดยมีการวัดและประมวลผลบนหลักวิชาการ
เพื่อให้เป็นดัชนีสากลที่นำไปวัดความมั่นคงมนุษย์ในทุกประเทศ
และมีการจัดอันดับความมั่นคงมนุษย์ระหว่างประเทศต่าง
ๆ ทั่วโลก
เพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ในแต่ละประเทศและในระดับโลก
กรรมการบริหาร
ปชป.
ยังเสนอให้มีศูนย์ศึกษาความมั่นคงของมนุษย์
ศาลความมั่นคงของมนุษย์
และสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในเรื่องการประกันภัยความมั่นคงของมนุษย์
จัดระบบภาษีความมั่นคงของมนุษย์
สร้างจิตสำนึกสิทธิเรื่องความมั่นคงของมนุษย์
จัดระบบเตือนภัยล่วงหน้าปัญหาความมั่นคงของมนุษย์
และให้มีการศึกษาผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์อันเกิดจากนโยบายของประเทศในด้านต่าง
ๆ
รวมถึงการชดเชยผู้รับผลกระทบจากนโยบายต่างๆ
ไม่ว่าจากระดับชาติหรือนานาชาติ
ในกลุ่มคนที่มีโอกาสจะได้รับผลกระทบรุนแรงและกลุ่มชายขอบ
เช่น เด็ก กลุ่มสตรีที่ยากจน
ดร.เกรียงศักดิ์ยังเสนอให้เอาใจใส่พิเศษในการจัดอันดับความสำคัญในเรื่องนี้
และเสนอให้ผูกโยงนักการเมืองกับความรับผิดชอบต่อสาธารณะในเรื่องนี้ผ่านสัญญาการปฏิบัติการหน้าที่
(performance contract)
หากสมาชิก
IPU
ต้องการเห็นความมั่นคงในภูมิภาพ
เราจะต้องกล้าเปลี่ยนแปลง
ไม่เพียงแต่คิดหรือพูดคุยเท่านั้น
แต่จะต้องลงมือทำอย่างจริงจัง
เพราะหากเราต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงในโลก
เราจะต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงนั้นเสียเอง
ดร.เกรียงศักดิ์
กล่าวปิดท้าย