ประชาธิปัตย์
อัด “เรียลิตี้” สร้างแบบอย่างที่ผิด -
ล้มเหลวทุกด้าน |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ |
22
มกราคม 2549 18:41 น. |
|
|
|
นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ในฐานะรองประธานคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ
พรรคประชาธิปัตย์ |
|
|
“เกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์” แจงสถิติเรียลิตี้แก้จน
แจกเงิน-แจกของ มากกว่าแจกปัญญา ชี้ “อาจสามารถโมเดล”
สอนให้คนแบมือขอ เห็นเงินเป็นพระเจ้า
ซ้ำยังทำลายค่านิยมพึ่งตนเอง
ระบุข้าราชการยึดแบบอย่างปฏิบัติตามไม่ได้
เพราะไม่มีกำลังเหมือนนายกฯ
เชื่อเป็นเพียงการหาเสียงในช่วงขาลง ขณะที่ โฆษก
ปชป.จวก สร้างหลักการแนวคิดที่ผิด ล้มเหลวทุกด้าน
วันนี้ (22 .ม.ค.) นายเกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ในฐานะรองประธานคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ
พรรคประชาธิปัตย์
แถลงถึงรายการเรียลิตี้โชว์การแก้ปัญหาความยากจนของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตลอด 5 วัน ว่า
แม้นายกฯจะอ้างว่าเป็นการสอนการแก้ปัญหาความยากจนระยะยาว
แต่แท้จริงตนมองว่าเป็นการสอนให้คนเห็นเงินเป็นพระเจ้า
เน้นการสอนให้ประชาชนแบบมือขอ
ให้พึ่งรัฐมากกว่าพึ่งตนเอง
จากการเก็บสถิติในรายการเรียลิตี้โชว์ พบว่า
นายกฯให้คำปรึกษาชาวบ้านและตัวแทนชาวบ้าน
ทั้งแบบทางการ และไม่เป็นทางการรวม 93 คน แยกได้
11 หมวด 217 กิจกรรม
แต่กิจกรรมส่งเสริมการพึ่งตนเองและชุมชน เช่น
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แนะนำอาชีพ มีเพียง 52
กิจกรรม คิดเป็น 36% ของกิจกรรมทั้งหมด
ส่วนการสิ่งที่นายกฯให้ประชาชนพึ่งพารัฐ อาทิ
การพักหนี้ การพึ่งโครงการรัฐบาล มีถึง 131
กิจกรรม คิดเป็น 61.7% ของกิจกรรมทั้งหมด
“ทั้งที่หลักการแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนควรช่วยให้ประชาชนช่วยตนเองได้
เหมือนคำที่ว่า จับปลาให้เขากิน 1 ตัว เขาจะอิ่ม 1
วัน แต่หากสอนให้เขาจับปลาได้
เขาจะอิ่มไปตลอดชีวิต
แต่การลงพื้นที่ของนายกฯเน้นการแจก
เพื่อให้ประชาชนได้รับความพึงพอใจเป็นหลัก
ไม่มีมิติของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสะท้อนปัญหา
ผู้ที่มารายงานปัญหาของชาวบ้านคือ นายอำเภอ
สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ได้มีความจริงใจ
เพราะหากจะให้นายอำเภอรายงาน
นายกฯสามารถเรียกมารายงานที่ส่วนกลางก็ได้
แต่นี่เป็นเพียงรูปแบบการหาเสียงในช่วงขาลง
อำเภออาจสามารถ มีสัดส่วนคนยากจนเพียง 8%
ส่วนจังหวัดอื่นๆ เช่น ปัตตานี มีสัดส่วนคนยากจน
23% นราธิวาส 18%” นายเกรียงศักดิ์ กล่าว
ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า
ในส่วนของข้าราชการนั้น นายกฯได้สอน ว่า
เงินสามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง จากสถิติ ทั้ง 5
วัน วิธีการกว่าครึ่ง คือ การแจกเงิน แจกของ เช่น
แจกเอกสารสิทธิที่ดิน แจกโค ให้เงินกู้ โดยคิดเป็น
40% ของกิจกรรมทั้งหมด ในขณะที่ส่วนของการแจกปัญญา
เช่น ให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม มีเพียง 20.3%
ตัวเลขนี้สะท้อนว่าเป็นการแก้ปัญหาอย่างฉาบฉวย
ใช้เงินแก้ปัญหาเพื่อต้องการเพียงให้เห็นผลเฉพาะหน้า
ให้ประชาชนเห็นว่า เมื่อนายกฯ ลงไป
ชาวบ้านจะมีที่ดิน มีเงินใช้ แต่ไม่มีความยั่งยืน
ในทางตรงข้ามหากพัฒนาโดยการให้ทุนมนุษย์จะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนกว่า
ทั้งนี้
ข้าราชการไม่สามารถทำตามแบบอย่างที่นายกฯได้สอนไว้ได้
เพราะข้าราชการไม่มีเจ้าหน้าที่ รัฐมนตรี
มีกำลังเหมือนกับนายกฯ
“อาจสามารถโมเดลจึงเป็นตัวทำลายค่านิยมการยืนบนขาของตนเอง
ขัดขวางความคิดของประชาชน ไม่ได้สอนให้คนมีทักษะ
เข้ากรอบเศรษฐกิจประชานิยม ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง
ต่อให้นายกฯทักษิณ ลงพื้นที่ทั้ง 800
กว่าอำเภอทั่วประเทศ ก็ต้องใช้เวลา 10 กว่าปี
การใช้เงินแจกเพื่อแก้ปัญหาความยากจน
ไม่มีทางที่จะมีเงินพอแจก สิ่งที่ต้องทำ คือ
ทำให้คนมีศักยภาพสูง หรือใช้ทฤษฎีทริคเคิล ดาวน์
เอฟเฟกต์ คือ การสาดจากบนลงล่าง
คนระดับบนโตจนสาดมาถึงระดับล่าง
เศรษฐกิจต้องเติบโต 8% ต่อเนื่องหลายๆ ปี
ส่วนการจนดักดาน ซึ่งเป็นภาษาเศรษฐศาสตร์นั้น
ต้องมีวิธีการเจาะจง
ในโลกนี้ไม่มีประเทศไหนที่ไม่มีคนจนแม้แต่คนเดียว
แม้แต่ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
ก็ยังมีคนจน” นายเกรียงศักดิ์ กล่าว
ส่วน นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า
การแก้ปัญหาตามอาจสามารถโมเดลคงไม่สัมฤทธิ์ผล
เพราะรัฐบาลไม่มีความจริงใจ
เนื่องจากไม่มีการปรากฏกายของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
ประธานศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน (ศตจ.)
ในรายการเรียลิตี้ด้วย นอกจากนี้ พล.อ.ชวลิต
ยังให้สัมภาษณ์กลับหัว
ตรงข้ามกับแนวทางนายกฯที่จะแก้ปัญหาด้วยการมอบให้นายอำเภอ
กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทำ แต่แนวทางของ พล.อ.ชวลิต
จะให้ประชาชนทำเอง อย่างไรก็ตาม
รายการนี้ถือว่าสำเร็จ 3 ด้าน คือ 1.
นายกฯทักษิณได้เป็นผู้แสดงนำ ประชาชน
และเจ้าหน้าที่เป็นตัวประกอบคับคั่งสมใจนายกฯ 2.
บรรลุ สอดคล้องนิสัยนายกฯเอง ที่ได้แจกเงิน
ได้พูดคนเดียว และถากถาง
เบรกคนที่เห็นไม่สอดคล้องกับตน และ 3.ได้เล่นบทที่เคยชิน
เช่น การทำกับข้าว ขี่มอเตอร์ไซค์ พายเรือ
นั่งรถอีแต๋น และแจกเงิน
นายองอาจ ยังกล่าวว่า ส่วนความล้มเหลวก็มี
3 ด้านเช่นกัน คือ 1.
นายกฯมุ่งที่จะเสกเป่าปัญหาต่างๆ
พยายามทำตัวเป็นหมอวินิจฉัยโรคแล้วจ่ายยา
ซึ่งคงใช้ไม่ได้ เพราะไม่ได้พิจารณาทั้งโครงสร้าง
ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม 5 วันที่ผ่านมา คือ
การจัดหาส่วนที่ขาดแคลนอย่างทันทีทันใดเท่านั้น 2.นายกฯทักษิณ
มองไม่เห็นมิติทางสังคม
ตอนที่เยี่ยมเด็กในโรงเรียน เมื่อทราบว่า
เด็กอยู่กับตายาย พ่อแม่ทำงานใน กทม.ก็ไม่ได้สอบถาม
ไม่คำนึงถึงปัญหานี้ ได้แต่แจกชุดนักเรียน
สงสัยเหลือเกินว่าอีก 2 ปี เมื่อชุดเก่า
นายกฯจะกลับไปแจกแจกหรือไม่ และ 3.เป็นการประจานความล้มเหลวนโยบายแก้ปัญหาความยากจนของรัฐบาลทักษิณ
1 และ 2 เช่น นโยบายพักหนี้ กองทุนหมู่บ้าน
พบความจริงว่าล้วนแต่กู้เงิน เพิ่มหนี้
แล้วก่อให้เกิดความยากจนต่อเนื่อง
จนต้องแจ้งนายกฯและคณะ ทั้งเรื่องปัญหาที่ทำกิน
ทั้งที่สำรวจมานานแล้ว
แต่มาสำเร็จเอาเมื่อวันที่นายกฯมานอนบ้าน
“พรรคประชาธิปัตย์มีความวิตกกังวล 3 ด้าน
คือ 1.สร้างวิธีการแก้จนแบบผิดๆ
กลัวว่าจะนำไปใช้ที่อื่นด้วย 2.ค่านิยมที่นายกฯอ้างว่า
มีความสุขกับการได้แจกเงิน
คนอื่นไม่ได้มีความสุขไปด้วย
สะท้อนความเสื่อมถอยของสังคมไทย
นายกฯต้องคำนึงถึงความทุกข์ของสังคมไทยด้วย และ 3.สั่งการตัดหน้านายอำเภอหลายครั้ง
ไม่ให้เกียรติข้าราชการ
ผมคิดว่ารัฐบาลไทยรักไทยจะแก้ปัญหาได้หากกระจายอำนาจ
ไม่หวงอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
กล่าว
|
|
|
|
|
|