ความยากลำบากของพ่อแม่ในหลายครอบครัวที่มักจะบ่น
ๆ กัน
นั่นคือ
เรื่องนิสัยที่ไม่ดีของลูก
ซึ่งมีหลายเรื่องมากจนพ่อแม่บางรายบอกว่าถ้าจะให้เขียนออกมาว่าลูกของตนมีนิสัยไม่พึงปรารถนาในเรื่องอะไรบ้างคงจะมากกว่าหนึ่งหน้ากระดาษเป็นแน่
คำว่า
“เด็กสมัยนี้เลี้ยงยาก”
กลายเป็นคำบ่นของพ่อแม่ที่ไม่รู้ว่าจะจัดการกับลูกของตนอย่างไรเตือนหลายครั้งแล้วไม่ฟัง
บอกให้ทำสิ่งที่ดีกว่าก็ไม่ยอม
แถมลงโทษก็ยังไม่กลัว
หากใครอยู่ในสภาพเช่นนี้คงอึดอัดใจไม่น้อย
เพราะเด็กสมัยนี้ยิ่งเมื่อเขาเติบโตขึ้น
สภาพแวดล้อมรอบตัวจะยิ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของพวกเขา
และมีส่วนสำคัญในการก่อร่างลักษณะนิสัยของลูกไปโดยไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ตาม
ถ้าเราต้องการให้อนาคตของลูกเติบโตเป็นคนดี
ก้าวไปในทางที่เขาวาดฝันไว้ว่าอยากจะเป็น
เราคงไม่สามารถปล่อยปละละเลยเรื่องนิสัยของเขา
แต่จำเป็นต้องทำ
2
อย่าง
คือ
เปลี่ยนแปลงนิสัยที่ไม่ดี
และปลูกฝังนิสัยที่ดี
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำในการเปลี่ยนแปลงและปลูกฝังนิสัยของลูก
ได้แก่
เริ่มจากการมีทัศนคติ
“นิสัยเปลี่ยนแปลงได้”
เราอาจไม่มีความเชื่อว่า
นิสัย
ของเรานั้นจะเปลี่ยนแปลงได้
เนื่องจากนิสัยนั้นเป็นสิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติจนเกิดความเคยชิน
จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
และโดยธรรมชาติแล้ว
คนเราส่วนใหญ่นั้นมักไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงนิสัย
แม้หลายเรื่องที่ทำนั้นก็รู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี
แต่แทนที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงกลับยอมรับว่า
“มันเป็นธรรมชาติชีวิตของเราไปเสียแล้ว”
“แก้ไขไม่ได้หรอก
ก็เราเป็นอย่างนี้มานานแล้วนี่”
ในส่วนลูกของเราก็เช่นกัน
เมื่อเราบอกให้เขาเลิกทำพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่ดี
เช่น
ชอบรับประทานขนมขบเคี้ยวระหว่างที่อ่านหนังสือไปด้วย
เราเห็นว่านอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว
ยังอาจทำให้ลูกเป็นเด็กอ้วนและมีโรคต่าง
ๆ
ตามมาได้
แต่เมื่อเราห้ามไม่ให้กิน
โดยบอกเหตุให้เข้าใจ
แต่ลูกกลับแอบกินอยู่เสมอ
เมื่อเราเตือน
เขากลับบอกว่า
“หนูก็เป็นของหนูอย่างนี้มานานแล้ว
หนูเปลี่ยนไม่ได้หรอก”
จนเมื่อลูกพูดเช่นนี้บ่อย
ๆ
อาจทำให้เราคิดไปเช่นกันว่า
“สงสัยคงจะเปลี่ยนไม่ได้เสียแล้ว”
แท้จริงแล้ว
แม้ว่า
นิสัยจะเป็นสิ่งที่เราชอบทำเป็นประจำ
จนกลายเป็นความเคยชิน
หรือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
แต่นิสัยก็ไม่ใช่ธรรมชาติชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
นั่นเนื่องจากนิสัยเกิดจากการเรียนรู้
และการกระทำซ้ำ
นักจิตวิทยาการเรียนรู้
บีเอฟ.สกินเนอร์
กล่าวไว้ว่า
การเรียนรู้นั้นเป็นเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลที่ได้จากการฝึกฝน
(Learning
as a
stable
change
in
behavior
that
comes as
a result
of
practice.)
แนวคิดนี้นับเป็นกุญแจในการยืนยันว่านิสัยของเรานั้นเปลี่ยนแปลงได้
ดังนั้น
พ่อแม่จึงควรมีทัศนคติเริ่มต้นว่า
นิสัยนั้นเปลี่ยนแปลงได้
เราสามารถควบคุมนิสัยของเราได้
ไม่เพียงเท่านั้น
เรายังสามารถเพิ่มเติมนิสัยใหม่
ๆ
ได้ด้วย
โดยเลือกที่จะฝึกฝนและสร้างนิสัยดี
ๆ
และฝึกที่จะกำจัดทิ้งนิสัยที่ไม่ดีออกไป
มี
“อนาคตของลูก”
เป็นศูนย์กลาง
พ่อแม่ย่อมเป็นคนที่รู้จักลูกดีที่สุด
ย่อมรู้ว่านิสัยของลูกเป็นอย่างไร
นิสัยอะไรบ้างที่ควรได้รับการเปลี่ยนแปลง
นิสัยอะไรบ้างที่ลูกไม่มี
และคิดว่าควรจะสร้างนิสัยนั้นเข้าไปเป็นนิสัยของลูก
อย่างไรก็ตาม
พ่อแม่ไม่ควรใช้ตนเองเป็นศูนย์กลางในการตัดสินว่า
ลูกควรเป็นอย่างไร
ตามความคิดและความต้องการของตน
ไม่ควรใช้เหตุผลว่า
ลูกไม่ควรทำเช่นนี้เพราะแม่ไม่ชอบ
แต่ต้องคิดด้วยความรักและความเข้าใจในตัวลูก
โดยยึดในอนาคตของเขาเป็นที่ตั้ง
และคิดให้ครอบคลุมว่า
ลูกควรมีนิสัยเช่นไรจึงประสบความสำเร็จทั้งด้านการเรียนและการดำเนินชีวิต
พ่อแม่ควรตระหนักว่า
ความสำเร็จในการเรียนและในการดำเนินชีวิตของลูก
ขึ้นอยู่กับว่า
เราได้ปลูกฝังลักษณะชีวิต
ลักษณะนิสัยใดบ้างในตัวลูก
นิสัยที่มีอยู่นั้นมีศักยภาพในการสนับสนุนความสำเร็จของเขามากน้อยเพียงใด
สำรวจนิสัยลูกให้ครบถ้วน
ในการแก้ไขและปลูกฝังนิสัยลูก
พ่อแม่ต้องสำรวจลูกให้ครบถ้วน
ไม่เพียงคิดเพียงนิสัยบางมุมบางด้าน
แต่ต้องให้ครอบคลุมทั้ง
นิสัยการคิด
โดยสังเกตดูว่า
เวลาลูกคิดและตัดสินใจทำสิ่งต่าง
ๆ
นั้นเป็นอย่างไร
เช่น
มักคิดอะไรไม่รอบคอบ
ไม่มองการณ์ไกล
เป็นต้น
นิสัยการคิดนั้นสำคัญเพราะการคิดเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมที่จะตามมา
ถ้าลูกสามารถคิดได้อย่างเป็นระบบ
คิดอย่างรอบคอบ
คิดอย่างมีเป้าหมาย
คิดอย่างมีเหตุมีผล
คิดอย่างมีหลักการ
และคิดอย่างมีคุณธรรมในเรื่องต่าง
ๆ
นิสัยการคิดเชิงบวกเหล่านี้จะเอื้อต่อการตัดสินใจและการประพฤติที่จะตามมาของเขา
ส่งผลให้เขาเป็นเด็กที่เติบโตไปในแนวทางที่ดีตามที่เขาปรารถนาไว้ได้
การแก้ไขที่ความคิดเป็นเรื่องที่สำคัญ
นอกจากนิสัยการคิดแล้ว
ควรสำรวจนิสัยการกระทำ
หรือพฤติกรรมที่แสดงออกจนกลายเป็นความเคยชินในเรื่องต่าง
ๆ เช่น
การไม่มีวินัย
การไม่เคารพเวลา
การชอบผัดวันประกันพรุ่ง
และนิสัยที่ดีที่ลูกยังขาดอยู่และควรเพิ่มเติมในตัวลูก
เช่น
การพัฒนาการอ่านเร็วขึ้น
เป็นต้น
ให้ลูกเป็นเจ้าของเรื่อง
-
ปลุกเร้าความตั้งใจ
เราต้องให้ลูกรู้ว่า
ตัวเขาเองเป็นคนสร้างนิสัยนั้นขึ้นมา
และถ้าเราปล่อยให้นิสัยเราเป็นเช่นนั้น
มันจะส่งผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างแน่นอน
ถ้านิสัยนั้นดี
เหมาะสม
ย่อมส่งผลดีต่อชีวิต
ในทางตรงข้ามถ้านิสัยนั้นไม่ดี
ไม่เหมาะสม
ย่อมส่งผลเสียต่อชีวิตอนาคตของเราได้
ดังนั้น
ถ้าลูกโตพอที่เราจะสามารถพูดคุยใช้เหตุผลกับเขาได้
ให้เราสื่อสารกับเขาด้วยความรัก
ในการเปลี่ยนแปลงนิสัย
ให้พูดคุยว่าพฤติกรรมที่เขาเป็นอยู่นั้นจะส่งผลเสียต่อเขาอย่างไรบ้าง
เมื่อลูกยอมรับและเห็นด้วยว่ามีผลเสียต่ออนาคต
และยินดีที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
เริ่มเปิดใจออกให้พ่อแม่เข้ามาช่วยเหลือ
และพยายามควบคุมตัวเองและสร้างนิสัยใหม่ให้กับตัวเอง
ในการปลูกฝังนิสัย
เราควรให้ลูกสร้างนิสัยใหม่ด้วยความเต็มใจ
โดยให้ลูกสื่อสารความต้องการว่าอยากมีนิสัยใหม่อะไรบ้าง
ให้ลูกลองจินตนาการดู
“ถ้าลูกมีนิสัยเช่นนี้....จะดีเพียงใด...ลูกจะเป็นอย่างไร”
ให้เกิดความรู้สึกว่านิสัยนั้นดี
อยากจะเป็นเช่นนั้น
ให้ลูกลองคิดว่านิสัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งในตัวของลูกแล้ว
และคิดว่านิสัยเก่าที่ไม่ดีไม่ได้อยู่ในตัวลูกแล้ว
ลูกมีความสุขเพียงใด
ไม่มีสิ่งใดมีพลังมากกว่าความตั้งใจ
สิ่งยิ่งใหญ่อันเกิดจากฝีมือมนุษย์
เริ่มต้นจากความคิดอันชาญฉลาดเป็นก้าวแรก
ก้าวที่สองคือความตั้งใจอยากทำให้เป็นจริง
และ
ก้าวที่สาม
คือ
การลงมือทำจริง
การเปลี่ยนแปลงนิสัยเดิมด้วยการสร้างนิสัยใหม่ก็เช่นเดียวกัน
ลูกต้องมีความคิดตระหนักรู้ว่านิสัยเก่านั้นไม่ดี
ควรเปลี่ยนสู่นิสัยที่ดีกว่า
และตามด้วยความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลง
และตามด้วยขั้นต่อไปคือการลงมือเปลี่ยนแปลง
เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงทีละเรื่อง
เมื่อลูกเห็นความสำคัญและอยากมีนิสัยดี
ๆ
ให้เราสนับสนุนและช่วยเหลือลูกให้สร้างนิสัยนั้น
โดยการวางแผนอย่างเป็นรูปธรรมว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง
และให้เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงทีละเรื่อง
อย่าทำหลายเรื่องไปพร้อม
ๆ
กันเพราะจะทำให้เกิดความเครียด
เราต้องเข้าใจว่านิสัยแต่ละอย่างนั้นเป็นพฤติกรรมที่เราปฏิบัติจนเกิดความเคยชิน
การละทิ้งหรือเลิกไปทันทีนั้นเป็นเรื่องยาก
อาจเกิดความเครียด
ความอึดอัด
และตามมาด้วยความท้อถอยไม่อยากเปลี่ยนแปลงต่อไป
การเลือกเพียงหนึ่งนิสัยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือต้องการปลูกฝังเป็นนิสัยใหม่
จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และความตั้งใจจริงที่จะฝึกฝน
จดจ่ออยู่กับสิ่งเดียว
เมื่อทำสำเร็จจะเกิดกำลังใจในการแก้ไขนิสัยเก่าและปลูกฝังนิสัยใหม่
ๆ ต่อไป
เด็กจะเห็นว่าถ้าเขาเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงนิสัยหนึ่งได้
เขาย่อมสามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยอื่น
ๆ
ได้เช่นกัน
ดังนั้น
ในวันนี้แม้ว่าเราจะเห็นว่า
มีนิสัยหลายอย่างในตัวลูกที่ควรเปลี่ยนแปลง
แต่เราก็ควรเริ่มต้นทีละเรื่อง
ในขนาดที่ลูกยอมรับและให้ความร่วมมือได้
และอาจเริ่มด้วยการเปลี่ยนแปลงเรื่องเล็ก
ๆ ก่อน
เพื่อให้ลูกมีกำลังใจและเห็นว่าตนเองทำได้
ทำต่อเนื่อง
ไม่ประนีประนอม
ปัญหาความล้มเหลวของการไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือสร้างนิสัยใหม่ได้
เป็นเพราะว่า
เรามักกระตือรือร้นในการทำพฤติกรรมใหม่
ๆ
ด้วยความรู้สึกตื่นเต้นแปลกใหม่
อยู่ประมาณ
2-3
วัน
หลังจากนั้น
เราจะเริ่มรู้สึกว่า
อยากกลับไปทำนิสัยเดิม
ๆ อีก
แต่เราควรตระหนักว่า
ถ้าเริ่มประนีประนอม
ไม่นานจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีก
เช่นเดียวกับคนที่เลิกบุหรี่
วันแรก ๆ
อาจทำได้สำเร็จ
พอหลังจากนั้นจะเกิดความคิดว่า
“ขอสูบสักมวนคงไม่เป็นไรหรอก”
แต่เมื่อทำเช่นนี้
อีกไม่นานก็กลับไปติดเหมือนเดิม
ยกตัวอย่างเช่น
ลูกชอบอมทอฟฟี่
ตลอดเวลา
เราสื่อสารจนลูกเข้าใจและให้ความร่วมมือว่าจะไม่ทำอีก
ใน
2-3
วันแรกเขาสามารถทำได้
แต่ในวันที่
3
เขาเริ่มเรียกร้องขออมสักเม็ดหนึ่งสิ่งที่เราควรตอบสนองคือ
ไม่ให้
แต่ให้กำลังใจ
หรือหาพฤติกกรมทดแทน
เพื่อไม่ให้กลับไปคิดถึงพฤติกรรมเดิม
ๆ อีก
เช่น
การให้ลูกอมวิตามินซีแทน
เป็นต้น
ให้กำลังใจ
อย่าซ้ำเติมเมื่อล้มเหลว
การเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่
ๆ
นั้นเป็นเรื่องที่ต้องจดจ่อ
ต้องตั้งใจ
อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะกลายเป็นนิสัย
การดูแลและให้กำลังใจอย่างใกล้ชิดของพ่อแม่จึงเป็นเรื่องสำคัญ
พ่อแม่ต้องคอยเตือนให้ทำ
คอยหนุนใจไม่ให้ท้อถอย
และคอยควบคุมดูแลไม่ให้ลูกกลับไปมีพฤติกรรมเช่นเดิมอีก
และให้กำลังใจจนกว่าให้ลูกสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ได้
การพัฒนานิสัยไม่มีความล้มเหลว
แต่เป็นการเรียนรู้ว่าจะทำให้ดีขึ้นเรื่อย
ๆ
ดังนั้น
แม้ลูกอาจล้มเหลว
หรือไม่สามารถทำได้
พ่อแม่ไม่ควรตัดสินหรือต่อว่าว่าลูกไม่ดี
ไม่มีความอดทน
แต่ต้องให้กำลังใจลูกให้พยายามทำต่อไปเรื่อย
ๆ
ให้ลูกยอมรับว่าความรู้สึกอึดอัดใจจะต้องเกิดขึ้นบ้าง
แต่ให้ทำพฤติกรรมใหม่นั้นต่อไป
แม้จะรู้สึกว่าไม่ค่อยเป็นธรรมชาติ
แต่นาน ๆ
ไปจะกลายเป็นนิสัยใหม่ของลูกเอง
สุภาษิตเกาหลีบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า
“นิสัยนั้นเริ่มต้นเมื่ออายุสามขวบ
และจะเป็นเช่นนั้นไปจนอายุแปดสิบ”
(A habit
that
started
at three
will
continue
until
eighty.)
เด็ก ๆ
เป็นเหมือนไม้อ่อนที่ดัดได้
เราไม่ควรปล่อยให้เขาเติบโตตามธรรมชาติ
แต่ควรดูแลให้เขาเติบโตเป็นต้นไม่ใหญ่
แข็งแรง
สวยงาม
และก่อประโยชน์ได้มากที่สุดเท่าที่ต้นไม้หนึ่งต้นจะสามารถทำได้
ดร.เกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์
กรรมการบริหารและรองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจ
พรรคประชาธิปัตย์
|