8 โครงการ สร้าง กทม. เป็น ?เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต?

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เชื่อมโยงและแข่งขันกันทั่วโลก อีกทั้ง กรุงเทพฯ ในฐานะเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางการค้า ธุรกิจ การศึกษา ฯลฯ ของประเทศ จำเป็นต้องพัฒนาคนเมืองให้เป็นคนแห่งการเรียนรู้ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สามารถปรับตัว และแข่งขันได้
ผมเสนอ 8 โครงการ พัฒนากรุงเทพฯ เป็น ldquo;เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิตrdquo; โดยหลายโครงการผมเสนอไว้ในหนังสือเกี่ยวกับกรุงเทพฯ 2 เล่ม คือldquo;กรุงเทพที่ผมฝันrdquo; และldquo;กรุงเทพเมืองน่าอยู่rdquo; ซึ่งผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ 8 โครงการ มีดังนี้
ศูนย์เรียนรู้ 4 มุมเมือง วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ฯ นี้คือ เพื่อกระจายแหล่งการเรียนรู้สำหรับทุกเพศทุกวัย ให้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพในด้านที่ตนสนใจ กิจกรรมที่จัดขึ้นในศูนย์ฯ ต้องเป็นสิ่งที่คนเมืองสนใจ มีความหลากหลาย มีความทันสมัย และเปิดโอกาสให้คิดสร้างสรรค์ เช่น สอนดนตรี สอนศิลปะ สอนออกแบบเสื้อผ้าเครื่องประดับ สอนการดูแลผู้สูงอายุ สอนวิธีการประหยัดค่าใช้จ่าย ฯลฯ
ห้องสมุดอัจฉริยะ 50 เขต ในแต่ละเขตอย่างน้อยมีห้องสมุดทันสมัย 1 แห่ง ที่ใช้ไอทีนำเสนอความรู้ มีระบบให้บริการทางอินเทอร์เน็ต ปฏิรูปห้องสมุดให้น่าเข้าใช้บริการ มีการจัดกิจกรรมตลอดปี จัดหาหนังสือที่ทันสมัย ห้องสมุดทั้ง 50 เขต อาจให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการ หรือร่วมมือกับภาคเอกชนหรือหน่วยงานอื่นพัฒนาห้องสมุดในบางเขตเป็น ldquo;ห้องสมุดเฉพาะทางrdquo; เช่น ห้องสมุดเกษตร ห้องสมุดดนตรี ห้องสมุดการแสดง ห้องสมุดกีฬา ห้องสมุดรีไซด์เคิล ห้องสมุดนักการเมือง ฯลฯ
พัฒนากิจกรรมเรียนรู้วิถีคนเมือง สภาพแหล่งเรียนรู้ที่จำกัด ไม่หลากหลาย และไม่ตอบสนองความต้องการของคนเมือง ทำให้คนกรุงเทพฯ ขาดความรอบรู้ และใช้เวลาว่างไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น การพัฒนาแหล่งเรียนรู้กระจายทั่ว กทม. เป็นการเพิ่มโอกาสเรียนรู้ให้คนเมือง โดย กทม. ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เชี่ยวชาญในเรื่องต่าง ๆ เข้ามาร่วมจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่หลากหลายให้คนกรุงฯไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูเด็ก การเลี้ยงและดูแลสัตว์เลี้ยง การเล่นเกมการแก้ปัญหาเด็กติดเกม การป้องกันอันตรายในเมืองกรุงฯ การออกกำลังกาย การเลือกอาหารและใช้ยาที่ถูกต้อง โดยต้องจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบต่อเนื่องตลอดปีตามพื้นที่ต่าง ๆ ของ กทม. เช่น พื้นที่สีเขียวของ กทม. สำนักงานเขต ลานกิจกรรม ศูนย์กีฬาฯ ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด ถนนคนเมืองต่าง ๆ ฯลฯกทม. ต้องอำนวยความสะดวกและช่วยประชาสัมพันธ์
พัฒนาแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมเมืองกรุงฯ เป็นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมคนเมือง เช่น ถนนสายวัฒนธรรม ถนนคนเดิน กิจกรรมทางวัฒนธรรมดั้งเดิมและร่วมสมัย การรื้อฟื้นตลาดเก่า ตลาด 100 ปี แหล่งวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิม เช่น ตลาดนางเลิ้ง ตลาดพลู ฯลฯ ส่งเสริมกีฬาเชิงวัฒนธรรม เช่น ตะกร้อ มวยไทย เรือยาว เดินกะลา การละเล่นไทย ว่าว ฯฯ จัดแข่งขัน กีฬาวัฒนธรรมเขต การพัฒนาสวนสาธารณะขนาดใหญ่ เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชน ส่วนหนึ่งเป็นที่แสดงออกทางศิลปวัฒนธรรม เช่น เป็นสวนพฤกษศาสตร์มีหลายประเภท เช่น ต้นไม้ในวรรณคดี ต้นไม้ต่างประเทศ รวมถึงไม้แปลก ๆ เป็นต้น
กิจกรรมงานอาสาสมัครพัฒนา กทม. กทม. ควรส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและคนในสังคม ใช้เวลาว่างผ่านการเข้าร่วมกองทุนเวลาเพื่อสังคม เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ปลูกฝังการเป็นผู้ที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีส่วนหล่อหลอมการมีจิตสาธารณะ ไม่ไปข้องแวะกับการใช้เวลาไม่เหมาะสมที่ก่อเกิดปัญหา อีกทั้งส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมโดยจัดระบบงานอาสาสมัคร เพื่อมีส่วนพัฒนาการเรียนรู้คนเมือง เช่น เยี่ยมเยียนสถานสงเคราะห์ ร่วมสอนและพัฒนาความรู้ให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาส การช่วยงานในศูนย์บริการสาธารณสุข การร่วมรนณรงค์การประหยัดพลังงาน เป็นต้น
ส่งเสริมธุรกิจเช่าหนังสือคุณภาพ กทม. ควรส่งเสริมให้เกิดธุรกิจเช่าหนังสือในพื้นที่ต่าง ๆ เน้นหนังสือคุณภาพที่ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตและให้ความรู้ เช่น หนังสือการพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหาร วรรณกรรมเด็ก ความรู้ต่าง ๆ เหมือนห้องสมุดย่อยแต่เป็นร้านให้เช่าหนังสือ โดยเป็นแหล่งพัฒนาทักษะการอ่าน การจัดเวทีเสวนาหนังสือดี ๆ โดยเชิญผู้แต่งมาพูดคุยกับผู้อ่านเป็นประจำ จัดร้านอาจจัดเหมือนแหล่งพักผ่อนวันหยุด รวมทั้งอาจมีกิจกรรมสนุก ๆ สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว ฯลฯ โดยอาจเริ่มต้นด้วยการร่วมมือกับสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย เจ้าของสำนักพิมพ์ต่าง ๆ สมาคมผู้ผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ ให้มาลงทุนในธุรกิจนี้ โดย กทม.เอื้อประโยชน์ด้านลดหย่อนภาษีที่จูงใจมากพอ การช่วยประชาสัมพันธ์
2008 ชั้นหนังสือในทุกชุมชน ตั้งขึ้นเพื่อให้ทุกชุมชนแออัด มีชั้นหนังสือหรือมุมอ่านหนังสือที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชน โดย กทม. ต้องสำรวจความต้องการหนังสือของคนในชุมชน กำหนดมาตรฐานและพัฒนาระบบชั้นหนังสือที่ทันสมัย พัฒนารูปแบบการบริจาค การสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมดูแลชั้นหนังสือในชุมชน และขอความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ จากภาคเอกชน เพื่อร่วมจัดตั้งชั้นหนังสือในชุมชน เช่น บริจาคหนังสือ มอบชั้นหนังสือ จัดหาคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ส่งสื่อเรียนรู้ถึงกลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ กทม. มีกลุ่มคนจำนวนมากที่ไม่สะดวกเดินทางไปแหล่งเรียนรู้ที่จัดขึ้นได้ เช่น กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุในบ้านพักคนชรา ผู้ป่วยในโรงพยาบาลและศูนย์บำบัด ผู้ต้องขังในเรือนจำหรือสถานกักกัน รวมถึงแม่บ้านและผู้ที่ไม่สามารถออกไปรับบริการแหล่งเรียนรู้ได้ จำเป็นที่ กทม. ควรมีบริการความรู้ไปถึงคนเหล่านี้ โดยจัดระบบลงทะเบียนเพื่อยืมหนังสือทางไปรษณีย์ ซึ่งการลงทะเบียนอาจให้คนในครอบครัวหรือคนในหน่วยงานที่ควบคุมดูแลเป็นผู้ลงทะเบียนให้ สำหรับการจัดส่งสื่อการเรียนรู้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ กทม. ควรระดมทุนในหลายช่องทางเพื่อนำงบประมาณมาสนับสนุน พัฒนาระบบอาสาสมัครหรือร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชน และจัดหน่วยเคลื่อนที่ให้บริการจัดส่งสื่อเรียนรู้สู่กลุ่มคนที่ต้องการ
การพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต จำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาทั้งระบบอย่างครบวงจร มีระบบการนำภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมพัฒนา และส่งเสริมการพัฒนาเมืองการเรียนรู้ที่ก้าวทัน ทันสมัย และพัฒนาต่อเนื่องตลอดเวลา
* นำมาจากหนังสือพิมพ์สยามรัฐรายวัน คอลัมภ์ศึกษาทัศน์ฉบับวันพุธที่ 23 เมษายน 2551
admin
เผยแพร่: 
0
เมื่อ: 
2008-04-23