การพัฒนาหลักสูตรสนองตอบการพัฒนาชาติและท้องถิ่นเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาแห่งฮาร์วาร์ด ซึ่งตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นจนกระทั่งปัจจุบัน ฮาร์วาร์ดได้มีการคิดค้น พัฒนา และปรับปรุงหลักสูตรอย่างเป็นพลวัต ในจำนวนนี้หลายหลักสูตรสร้างผลกระทบเชิงบวกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับชุมชน สังคม ประเทศชาติ และระดับโลก อาทิ วิชาบอสตัน (Boston course) ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานในสังกัดวิทยาลัยเคนเนดี้สคูลแห่งฮาร์วาร์ด (Harvard Kennedy School) วิชาดังกล่าวนี้มีส่วนสำคัญต่อการจัดการประเด็นปัญหาและการพัฒนาสังคมชุมชนท้องถิ่น ผ่านกระบวนการสร้างผู้นำรุ่นใหม่และการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญของหลักสูตรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมของฮาร์วาร์ด
April 2015
รู้อะไรไม่สู้...รู้จักตัวเอง
สมัยนี้จบปริญญาตรีไม่พอ ต้องต่อปริญญาโท ปริญญาเอก เพราะถ้ามีความรู้สูง เราย่อมมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่า...
สมัยนี้เรียนรู้จากสถานศึกษาไม่พอ ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องขวนขวานหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทั้งการเข้าร่วมอบรมสัมมนา เข้าร่วมหลักสูตรต่าง ๆ เรียนรู้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ทันโลก มิเช่นนั้นจะตกยุค ไม่สามารถแข่งขันได้...
จะเกิด Magna City ในอนาคตหรือไม่ ?
จากรายงาน PWC?s Investor Resource Institute ประจำปี 2014 ที่อธิบายถึง 5 แนวโน้มโลกอนาคตช่วงปี 2030 - 2050 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ 5 ประเด็น ประเด็นแรก ในปี 2050 ประชากรทั่วโลกที่อาศัยอยู่ในเมืองจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 72 ประเด็นที่สอง ในปี 2030 จะมีประชากรทั่วโลก 8.3 พันล้านคน โดยมีความต้องการด้านพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 และความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ประเด็นที่สาม จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงการประชากร โดยในปี 2050 สัดส่วนผู้สูงอายุทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมด ประเด็นที่สี่ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจจากฝั่งตะวันตกมาเป็นตะวันออก โดยจะมีสัดส่วนชนชั้นกลางทั่วโลกคิดเป็นร้อยละ 66 และการบริโภคของชนชั้นกลางทั่วโลกร้อยละ 59 มาจากทวีปเอเชีย และประเด็นที่ห้า ในด้านของการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีจะเกิดการเพิ่มขึ้นของ ?Internet of Things?
นำเก่ง ต้อง "สร้างคน" ได้
"ถ้าการกระทำของคุณสร้างแรงบันดาลใจให้คนภายใต้ ..มีฝันที่ยิ่งใหญ่ขึ้น เรียนรู้ได้เพิ่มขึ้น ทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น และทำหน้าที่ในบทบาทต่าง ๆ ได้หลากหลายขึ้น ..คุณคือผู้นำ" จอห์น ควินซี อดัมส์ (John Quincy Adams) ประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวข้อความข้างต้นไว้ สะท้อนบทบาทสำคัญประการหนึ่งของผู้นำ นั่นคือ ผู้นำต้อง "สร้างคน"
สร้างการปรองดองของพี่กับน้อง
ในอดีตเมื่อสังคมเป็นสังคมเกษตรกรรม เราคงเคยได้ยินว่าหลายครอบครัวนิยมมีลูกหลาย ๆ คนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ คือเพื่อมาช่วยทำงาน แม้ว่าค่านิยมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบันคือ แต่ละครอบครัวมีลูกจำนวนน้อยลง แต่ก็ยังมีหลายครอบครัวที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน อันทำให้เกิดปัญหาที่มักพบบ่อย ๆ คือ ปัญหาพี่น้องทะเลาะกัน อิจฉากัน แย่งของกัน รู้สึกไม่รักกัน ชิงดีชิงเด่นกัน ซึ่งจะพบมากในเด็กวัย 1-5 ปี และในหลายกรณี ปัญหานี้ไม่ได้หายไปเมื่อเด็กโตขึ้น กลับยังคงเป็นปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องที่ทอดยาวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ไม่มีพ่อแม่คนใดปรารถนาให้เกิดขึ้น พ่อแม่จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงที่มาของปัญหานี้และแก้ไขด้วยวิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็ก
คอร์รัปชั่นลดจริง? ต้องดูหลังเลือกตั้ง
เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชั่นไทย (Corruption Situation Index : CSI) เดือน ธ.ค.
แนวโน้มการขนส่งและโลจิสติกส์หลัง AEC
เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่อง ?The ASEAN Integration and beyond? ที่ฮ่องกงโดยผู้ฟังเป็นผู้บริหารของบริษัทด้านโลจิสติกส์ที่มีหลายสาขาทั่วโลก ซึ่งผมได้อธิบายถึงแนวโน้มของภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ (T&L) หลังการเปิดประชาคมอาเซียนดังนี้
สร้างเอกภาพ ในความขัดแย้ง
"ชุมชนเล็ก ๆ ยิ่งใหญ่ได้เพราะความสามัคคี และอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ล่มสลายลงได้ เพราะเหตุแห่งความแตกแยก"
ซาลลัสต์ (Sallust : 86-34 BC) นักประวัติศาสตร์โรมัน มีชีวิตอยู่ช่วงก่อนคริสตกาล ได้กล่าวสัจธรรมข้างต้นไว้ ซึ่งยังคงเป็นความจริงจนถึงทุกวันนี้
แบบอย่างผู้นำ 'ไร้อีโก้' เพิ่มพลังทีม
คนเก่งที่ทำงานเป็นทีมร่วมกับคนอื่นไม่ได้ มักไม่เป็นที่ต้องการ เพราะความสำเร็จของงาน คือ ความสำเร็จของทีม...ไม่ใช่ของคน ๆ เดียว
คำกล่าวข้างต้นเป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ในองค์กรการทำงาน ถ้าหน่วยงานนั้นมี 2 คนขึ้นไป ย่อมต้องเรียนรู้การทำงานเป็นทีม และทีมงานที่แข็งแกร่ง ประสานงาน ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันอย่างมีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ ย่อมมีพลังในการขับเคลื่อนองค์กรบรรลุเป้าหมาย และฝ่าฟันวิกฤตต่าง ๆ ได้
"ก้าวหน้า" เมื่อไม่ "ข้ามหน้า"
"อย่าบดบังรัศมีเจ้านาย"
โรเบิร์ต กรีน (Robert Greene) เจ้าของหนังสือ กฎแห่งอำนาจ 48 ข้อ (The 48 Laws of Power) ได้แนะนำวิธีเพิ่มอำนาจให้กับตนเอง กฎข้อแรกเลย คือ ?อย่าบดบังรัศมีเจ้านาย? ถ้าอยากได้ดิบได้ดีในอนาคต อย่าทำตัวเก่งกว่า เหนือกว่าเจ้านาย การแสดงท่าว่าตนเองเก่งกว่า ฉลาดกว่า อาจเป็นการกระทำที่ ?ดับอนาคต? ของตนเองได้เลยทีเดียว เพราะหัวหน้าเราจะรู้สึกว่า ตนเองกำลังถูกคุกคาม เกิดความกลัว รู้สึกไม่มั่นคงในตำแหน่งของตน และทำให้มองเราเป็นศัตรูที่ต้องจัดการได้